ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน งานห้องผู้ป่วยหนัก 1 โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • อรทัย ธรรมป๊อก โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

อาการกลืนลำบาก, โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน, ปอดอักเสบจากการสำลัก, แนวปฏิบัติทางคลินิก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อประเมินความรู้ของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการจัดการอาการกลืนลำบาก และอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ
ทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน
กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในงานห้องผู้ป่วยหนัก 1 จำนวน 17 คน และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในงานห้องผู้ป่วยหนัก 1 เดือนเมษายน – มิถุนายน 2566 จำนวน 24 คน

ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน พยาบาลวิชาชีพมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และไม่พบอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก

สรุปได้ว่า การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก

References

Vose A, Nonnenmacher J, Singer ML, González-Fernández M. Dysphagia Management in Acute and Sub-acute Stroke. Curr Phys Med Rehabil Rep 2014; 2: 197–206.

Wattanapan P, Kovindha A, Permsiripanich W, Manimmanakorn N, Kuptniratsaikul V. Swallowing Problem in Patients with Stroke: Multi-Center Study in Thailand. J Med Assoc Thai 2016; 99: 76.

ภัทรา วัฒนพันธุ์. การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน. ขอนแก่น: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

Hines S, Kynoch K, Munday JJ. Nursing Interventions for Identifying and Managing Acute Dysphagia are Effective for Improving Patient Outcomes: A Systematic Review Update. Neurosci Nurs 2016; 48: 215-223.

Al-Khaled M, Matthis C, Binder A, Mudter J, Schattschneider J. Dysphagia in Patients with Acute Ischemic Stroke: Early Dysphagia Screening May Reduce Stroke-Related Pneumonia and Improve Stroke Outcomes. Cerebrovasc Dis 2016; 42: 81-89.

งานห้องผู้ป่วยหนัก 1 โรงพยาบาลลำพูน. ข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ ปี 2563 – 2565. ลำพูน: งานห้องผู้ป่วยหนัก 1 โรงพยาบาลลำพูน; 2565.

เอื้องขวัญ สีต๊ะสาร. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

ดวงใจ บุญคง, อรุณรัตน์ อุทัยแสง และสมเกียรติ บุญคง. การส่งเสริมการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ 2562; 35: 13-23.

National Health and Medical Research Council [NHMRC]. A Guide to the Development Implementation and Evaluation of Clinical Practice Guidelines. Australia: National Health and Medical Research Council [NHMRC]; 2000.

สายทิพย์ จ๋ายพงษ์. ผลของการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีการกลืนลำบากในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

เรณู มูลแก้ว. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเทพปัญญา จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

นิตินาถ วงษ์ตระหง่าน. ผลการใช้แนวทางการคัดกรองภาวะกลืนลำบาก ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. เชียงใหม่: โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่; 2561.

รุ่งนิภา จ่างทอง. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 2564; 4: 55-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-12