ผลของการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • สุปัญญา บุญถูก โรงพยาบาลยโสธร
  • ดวงพร วัฒนเรืองโกวิท โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

แผนการจำหน่าย, มารดาหลังคลอด, อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การดูแลมารดาหลังคลอดมุ่งเน้นการให้มารดามีความรู้ และทักษะการดูแลตนเองและทารก เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอด 2) ผลลัพธ์ทางการพยาบาลของการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอด ได้แก่ อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล ความพึงพอใจของมารดาหลังคลอด ความพึงพอใจของบุคลากร เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอด
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลในหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลยโสธร

ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความรู้ และทักษะในการดูแลตนเองของมารดาหลังคลอดและทารกหลังการใช้แผนการจำหน่ายมีคะแนนสูงกว่าก่อนการใช้แผนการจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลลัพธ์ทางการพยาบาลการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลลดลง คะแนนความพึงพอใจของมารดาหลังคลอด และความพึงพอใจของบุคลากรอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ให้มีการติดตามประเมินผลการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้มีจำนวนน้อย การวิจัยครั้งต่อไปควรเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่าง และส่งเสริมมารดาทบทวนความรู้ และทักษะผ่าน QR Code

References

Lowdermilk LD, Perry ES, Cashion K. Marternity nursing 8th ed. Maryland Heights: Mosby Elsevier; 2014.

มณีภรณ์ โสมานุสรณ์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคลอด. ใน :วรรณรัตน์ จงเจริญยานนท์ บรรณาธิการ. การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ยุทธนารินทร์การพิมพ์; 2554.

โรงพยาบาลยโสธร. เวชระเบียนหญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด. รายงานประจำปี; 2565.

กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม และวางแผนครอบครัว. แนวทางในการปฏิบัติงาน (Clinical Practice Guideline ). ยโสธร: โรงพยาบาลยโสธร; 2565.

Kaur J, Kaur K. Obstetric complications. European Journal of Experimental Biology 2014; 2(5): 1462-1468.

Bernstein H, Spino C, Lalama CM, Finch SA, Wasserman RC, Cormick MC. Unreadiness for postpartum discharge following healthy term pregnancy: impact on health care use and outcomes. Academic Pediatric Association 2013; 13(1): 27-39.

Howell EA, Mora PA, Chassin MR, Leventhal H. Lack of preparation physical health after childbirth: and early postpartum depressive symptoms. Journal of Women’s Health 2010; 19(4): 703–708.

Weiss M, Piacentine LB. Psychometric properties of the readiness for hospital discharge scale. Journal of Nursing Measurement 2006; 14(3): 163-180.

Weiss M, Lokken L. Predictors and outcomes of postpartum mothers’ perceptions of readiness for discharge after birth: Journal of Obstetric. Gynecologic and Neonatal Nursing 2009; 38(4): 406-417.

Titler MG, Pettit DM. Discharge readiness assessment. The Journal of Cardiovascular Nursing 1995; 9(4): 64-74.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. ระเบียบวิจัย. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท; 2551.

ปฤษณพร ศิริจรรยา, รจนา อัศพันธ. ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้และการปฏิบัติตนในหญิงหลังคลอดโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2560; 35-48.

ไพลิน ถิระวัฒน์, จิราภรณ์ ฉลานุวัฒน์, นุสสรา วิญญาณ. ศึกษาการใช้โปรแกรมเสริมทักษะคุณแม่มือใหม่ใส่ใจลูกรักต่อความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ความสามารถของมารดาครรภ์แรก 2555; 39(1): 63–78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-04