ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินในผู้ป่วยที่มารับบริการโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศรีสุรางค์ มั่งมี โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผล, ระดับความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน, โรคสะเก็ดเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินในโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ที่มารับบริการที่คลินิกโรคผิวหนังของโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ระหว่างช่วงเวลา 1 สิงหาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2566 จำนวน 291 คน ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก

ผลการศึกษา พบว่า ในกลุ่มตัวอย่าง 291 คนที่เป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาโรคสะเก็ดเงินที่โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น มีผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก จำนวน 205 คน (ร้อยละ 70.45)  โดยพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภาวะเครียด การรับประทานอาหารบางชนิด  การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และอากาศร้อน

จากผลการศึกษานี้ แพทย์ควรให้คำแนะนำในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน โดยควรหลีกเลี่ยงสาเหตุของความเครียดต่างๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน จัดที่อยู่อาศัยให้มีอากาศถ่ายเท รวมถึงควรพบแพทย์ตามนัด

References

Armstrong AW. Psoriasis. JAMA Dermatol 2517; 153(9): 956-956.

เจตน์ วิทิตสุวรรณกุล, ประวิตร อัศวานนท์. Red scaly plaques ใน: มาริษา พงศ์พฤติพันธ์ บรรณาธิการ. Current issues in dermatology 2019: A TO Z dermatology 1st ed กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Akaraphanth R, Kwangsukstid O, Gritiyanangson P and Swanpanyleart N. Psoriasis Registry in Public Health Hospital. J Mea Assoc Thai 2013; 96(8): 960-960.

Lowes MA, Bowcock AM, Krueger JG. Pathogenesis and Therapy of Psoriasis. Nature 2007; 445: 866-873.

Gudjonsson JE, Elder JT. Psoriasis. In: Goldsmith, LA., Katz, SI., Gilchrest, BA., Paller, AS., Leffell, DJ., and Wolff, K. Eds. Fitzpatrick's Dermatology in general medicine 8th ed. New York : McGraw- Mill 2017; 197-231.

Gitilieb AB, Dann F, Menter A. Psoriasis and The Metabolic Syndrome. J Drugs Dermatol 2008; 7: 563-72.

Garshick MS, Ward NL, Krueger JG, Berger JS. Cardiovascular risk in patients with psoriasis. J Am coll Cardiol 2021; 77(13): 1670-80.

Smith CH, Jabber-Lopez ZK, Yiu ZZ, etal. British Association of Dermatologists guidelines for biologic Therapy for Psoriasis, British J Dermatol 2017; 177(3): 628-36.

Huerta C, Rivero E, Garoz-Rodriguez LA. Incidence and Risk Factors for Psoriasis in the General Population. Arch Dermatal 2007; 143(12): 1559-65.

Kraisuwan K. Poor Pragnostic Factor with Recalcitrant Conventional Therapy in Moderate To severe Psorizsis. J Health SciSchol 2022; 9(2): 231-45.

Jiamton S, Suthipinittharm P, Kanokvalai K, etal. Clinical Characteristics of Thai patients with Psoriasis. J Med Assoc Thai 2021; 95(6): 795-801.

Kamiya K, Oiso N, kawada A, Ohtsuki M. Epidemiological survey of the psoriasis patients in the Japanese Society For Psoriasis Research from 2013 to 2018. Japanese Dermatol Assoc 2021; 48: 864-875.

Kanda N, Hoashi T, Saeki H. Nutrition and Psoriasis. Int J Mol Sci 2020; 21(15): 5405; https://doi.org/10.3390/ijms21155405.

Qian Wu, Zhiwei Xu, Yi-Lin Dan, Chan-Na Zhao, Yan-Mei Mao, Li-Na Liu, Hai-Feng Pan. Seasonality and global public interest in psoriasis: an infodemiology study. Postgraduate Medical Journal 2020; 96(1133): 139–143, https://doi.org/10.1136/postgradmedj-2019-136766.

Ros A-M, Eklund G, Odont. D. Photosensitive psoriasis: An epidemiologic study. J AM Dermatol 1987; 17(5): 752-758.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13