การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงด้วยภาษาท้องถิ่นต่อการรับรู้และการจดจำอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ในพื้นที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
การสื่อสารความเสี่ยง, กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, การรับรู้อาการเตือน, การจดจำอาการเตือนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงด้วยภาษาท้องถิ่นต่อการรับรู้และการจดจำอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับรูปแบบการสื่อสารภาษาอีสาน และภาษาภูไท กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือสำหรับผู้พัฒนารูปแบบและสำหรับกลุ่มเสี่ยง มีค่าความเชื่อมั่นของรูปแบบการสื่อสารภาษาอีสาน และภาษาภูไท เท่ากับ 0.92 และ 0.94 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบการรับรู้และการจดจำอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T-test
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการสื่อสารอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองภาษาท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) โปสเตอร์อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองภาษาท้องถิ่นประกอบรูปภาพแสดงอาการ 2) ติดไว้ที่บ้านของกลุ่มเสี่ยง และสื่อสารผ่านทาง อสม. ภายหลังได้รับรูปแบบการสื่อสารอาการเตือนในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 40-60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง ทำให้ทุกคนมีการรับรู้อาการเตือนระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อาการเตือนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสื่อที่พัฒนาขึ้นทำให้กลุ่มเสี่ยงสามารถจดจำอาการเตือนครบทั้งหมด 5 คำ ร้อยละ 66.7 ดังนั้น จึงควรนำวิธีการพัฒนารูปแบบการสื่อสาร
ความเสี่ยงไปปรับใช้ในการสื่อสารความเสี่ยงโรคที่เป็นปัญหาทางสุขภาพสำคัญอื่นๆ
References
กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลกหรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/180623
Aho K, Harmsen P, Hatano S, Marquardsen J, Smirnov VE, Strasser T. Cerebrovascular disease in the community: results of a WHO collaborative study. Bull World Health Organ. 1980; 58(1): 113-30.
Coupland AP, Thapar A, Qureshi MI, Jenkins H, Davies AH. The definition of stroke. J R Soc Med. 2017 Jan; 110(1): 9-12.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2566). อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย; 39(2): 39-46.
HDC. (2566). อัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://acr.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=
โรงพยาบาลชานุมาน. สรุปข้อมูลโรคไม่ติดต่อไม่เรื้อรัง. อำนาจเจริญ; โรงพยาบาลชานุมาน. 2566.
Nualnetr N, Srikha D. 2012. Knowledge on the stroke and behaviors to reduce the risk of stroke among risk persons in Samliam Community, Muang District, Khon Kaen Province. Arch AHS; 24(3): 318-26.
ประไพ กิตติบุญถวัลย์, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, ศุภลักษณ์ ศรีธัญญา. (2557). การรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข; 23(3): 132-41.
Mellor RM, Bailey S, Sheppard J, Carr P, Quinn T, Boyal A, et al. (2015). Decisions and delays within stroke patients' route to the hospital: a qualitative study. Ann Emerg Med; 65(3): 279-87.
พัสตราภรณ์ ปัญญาประชุม, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, สมบัติ มุ่งทวีพงษา. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใช้ระบบเครือข่าย การส่งต่อช่องทางด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองระยะเฉียบพลัน. ธรรมศาสตร์เวชสาร; 17(4): 540-47.
Kemmis S & McTaggart, R. The Action Research Planner. (3rd ed). Victoria: Deakin University; 1988.
สุวรรณา หล่อโลหการ, ประพรศรี นรินทร์รักษ์, รัชนีกร ถิรตันตยาภรณ์, จิตรา โรมินทร์, (2564). ประสิทธิผลโปรแกรมการรับรู้และป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 5 ฐาน เพื่อชีวิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข; 3(2): 100-16.
Rohrmann B. (1999). Community-based fire preparedness programmes: An empirical evaluation. The Australiasian journal of disaster and trauma Studies. Retrieved July 12,2014.
ญนัท วอลเตอร์, โรชินี อุปรา, ประกายแก้ว ธนสุวรรณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมองสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้; 3(2): 100-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น