หลักการสอนแอโรบิกดานซ์สมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • ยรรยงค์ พานเพ็ง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาเเละการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 234 ต.เมือง อ.เมืองเลย จ.เลย https://orcid.org/0000-0002-9290-2479
  • อัตถสิทธิ์ ไชยณรงค์ สาขาวิชาสื่อสารมวลชนทางกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชวิศ วงษ์เขียว สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

แอโรบิกดานซ์, หลักการ FFITT-VS, กรุ๊ปเอ็กเซอร์ไซส์

บทคัดย่อ

รูปแบบแอโรบิกดานซ์ในอดีตได้ถูกพัฒนาให้มีความหลากหลายน่าสนใจ ในปัจจุบันแอโรบิกดานซ์ได้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกายที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพสำหรับทุกเพศทุกวัย

การเติบโตทางธุรกิจด้านสุขภาพได้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ความทันสมัยของรูปแบบการออกกำลังกายแบบกรุ๊ปเอ็กเซอร์ไซส์จึงได้มีวิวัฒนาการรูปแบบการสอนมีความเฉพาะประเภท
โดยจัดโปรแกรมให้มีความสอดคล้องกับสมรรถนะทางกาย 3 ประเภท คือ กรุ๊ปเอ็กเซอร์ไซส์ประเภทที่หนึ่งเป็นการพัฒนาระบบหัวใจไหลเวียนเลือด กรุ๊ปเอ็กเซอร์ไซส์ประเภทที่สองพัฒนาด้านความทนทานและเสริมสร้างความแข็งแรง และกรุ๊ปเอ็กเซอร์ไซส์ประเภทที่สามพัฒนาด้านความอ่อนตัวและยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ โดยนำหลักการของการสอนแอโรบิกดานซ์ FFITT ซึ่งประกอบด้วย สนุกสนาน (Fun, F) ความบ่อย (Frequency, F) ความหนัก (Intensity, I) ระยะเวลา (Time, T) ชนิดของการออกกำลังกาย (Types of Activity, T) เพื่อให้การสอนมีความทันสมัย และปลอดภัย

ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้นำเสนอเพิ่มเติมหลักการของความหลากหลายของการสอน (Variety, V)
และความปลอดภัยในการเต้น และการเคลื่อนไหว (Safety, S) ซึ่งประเด็นสำคัญทั้ง 2 ประการ
มีความเกี่ยวข้องกับการจัดโปรแกรม และผู้นำการออกกำลังกายสามารถยึดเป็นแนวปฏิบัติในการสอนด้วยหลักการ FFITT-VS สำหรับจัดโปรแกรมกรุ๊ปเอ็กเซอร์ไซส์ในอนาคต

References

Arfanda PE, Aprilo I, Arimbi A, Mappompo MA, Nurliani N, Wahid WM. Workshop on Increasing Cardiovascular Endurance and Concentration Through Low Impact Aerobic Dance. J-ABDI: Journal Pengabdian kepada Masyarakat 2023; 2(9): 6569-6576.

Javed A, Mahmood B. Investigating the Effects of Aerobic Exercise and Respiratory Training on Cardiovascular and Respiratory Health During Pregnancy. Journal of Health and Rehabilitation Research 2023; 3(1): 124-9.

ยรรยง พานเพ็ง, ปรียาวัลย์ ป้องกัน, กวิน บุญประโคน, และอาทิตย์ ปัญญาคำ. ประสิทธิผลของการฝึกโยคะอาสนะและการฝึกบอดี้ฟังชันนอลที่มีต่อสุขสมรรถนะในวัยรุ่นหญิงที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย 2565; 1(1): 13-28.

de Villarreal ES, Calleja-González J, Kakucska P, Alcaraz PE, Ramirez-Campillo R. Training and Detraining Effects of Step Aerobics on Strength and Functional Mobility in Healthy Middle-Aged and Older Women. Journal of bodywork and movement therapies 2019; 23(2): 390-393.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และเฉลิม ชัยวัชราภรณ์. สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.; 2536.

Ayari S, Abellard A, Sakrani S, Krinitskaia A, Grzelak M, Nader RB, Gavarry O. Comparison of dance and aerobic exercise on cognition and neuropsychiatric symptoms in sedentary older adults with cognitive impairment. European Geriatric Medicine 2023: 1-11.

Karanfil Y, Esme M, Korkusuz F. Musculoskeletal physiological changes in aging. In Beauty, Aging and Antiaging Academic Press 2023: 83-108.

Wang L, Guo F, Zhao C, Zhao M, Zhao C, Guo J, Zhu W. The effect of aerobic dancing on physical fitness and cognitive function in older adults during the COVID-19 pandemic-a natural experiment. Sports Medicine and Health Science 2023; 5(3): 196-204.

จรวยพร ธรณินทร์ และวิชิต คณึงสุขเกษม. แอโรบิกดานซ์ เพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมดิกัลป์มีเดีย; 2537.

กัญญา พานิชเจริญนาม และสืบสาย บุญวีรบุตร. ผู้นำแอโรบิกดานซ์ทันสมัย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.; 2546.

กรมพลศึกษา. แอโรบิกดานซ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.

Les Mills. Les mills classes - Guide to burned calories. Reviewed 9 Augus 2023, from. https://www.villagegym.co.uk/blog/les-mills-fitness-class-calories-burned/

Costtas I. Karagiorghis. Applying music in exercise and sport. London UK. Human Kinetics; 2017.

Aerobic and Fitness Association of America, AFAA. Music and Dance Forms of Movements. Reviewed 12 April 2022, https://www.afaa.com/courses/group-ex

Ntoumanis N, Thøgersen‐Ntoumani C, Quested E, Hancox J. The effects of training group exercise class instructors to adopt a motivationally adaptive communication style. Scandinavian journal of medicine & science in sports 2017; 27(9): 1026-1034.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-15