ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ครีมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากลูกประคบ เพื่อลดความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในกลุ่มเกษตรกร จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • เฟื่องฟ้า รัตนาคณหุตานนท์ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย สาขาวิชาสุขภาพและความงาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • นาตยา ดวงประทุม สาขาวิชาสุขภาพและความงาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รัฐพล ศิลปรัศมี สาขาวิชาสุขภาพและความงาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

สารสกัดสมุนไพร, ลูกประคบ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ครีมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากลูกประคบเพื่อลดความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในเกษตรกร จังหวัดสระแก้ว จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดระดับความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการใช้ผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า สารสกัดหลักที่ได้จากสมุนไพรในลูกประคบ คือ ไพล ผิวมะกรูด ขมิ้นชัน ใบมะขาม ตะไคร้ และดอกระกำ ได้ของเหลวข้นสีน้ำตาล มีความหนืดเล็กน้อย ได้ %yield เท่ากับ 4.32 สารสกัดจากสมุนไพรนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความคงตัวเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ผลการทดสอบประสิทธิภาพพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นของสารสกัดร้อยละ 4 สามารถลดความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของกลุ่มทดลอง หลังใช้ผลิตภัณฑ์เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยใช้แบบประเมินระดับความปวดเมื่อย Visual Analogue Scales (VAS)

ผลจากการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำสารสกัดหลักจากลูกประคบมาพัฒนารูปแบบให้สะดวกต่อการใช้งาน เป็นแนวทางส่งเสริมสุขภาพ และเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยเพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป

References

อรรถพล แก้วนวล, บรรพต โลหะพูนตระกูล และกลางเดือน โพชนา. ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(2): 53-64.

Hossain, A., Kamrujjaman, M., & Malleque, A. Associated factors and Pattern of Musculoskeletal Pain among Male Handloom Weavers Residing in Belkuchi, Shirajgonj: A Cross sectional Study. International Journal of Scientific & Engineering Research. 2018; 9(10): 1447-1451.

Holmberg, S., Stiernstrom, E.L., Thelin, A., Svardsudd, K. Musculoskeletal symptoms among farmers and non-farmers: a population-based study. Int J Occup and Environ Health. 2022; 8: 339-345.

National Statistical Office. Informal Labor Survey 2022. 1st printing. Bangkok: National Statistical Office.

Office of Occupational and Environmental Diseases. Report on the situation of occupational diseases and Environment year 2016. 1st printing. Nonthaburi: Office Occupational and environmental diseases.

Holmberg, S., Thelin, A., Stiernstrom, E., Svardsudd, K. The impact of physical work exposure on musculoskeletal symptoms among farmers and ruralnon-farmers. Ann Agr Environ Med. 2023; 10:179-184.

Bureau of Occupational and Environmental Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health 2015. [Internet]. 2023 [Cited 2023 October 10]. Available from: http//ddc.moph.go.th/ uploads/publish/1319220220921075430.pdf.

Sa Kaeo Provincial Agriculture Office. Basic information on agriculture and cooperatives in Sa Kaeo Province Fiscal year. 2020.

จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย และรัฐพล ศิลปรัศมี. ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากต้นราชพฤกษ์เพื่อป้องกันภาวการณ์ติดเชื้อทางผิวหนังในผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย 2565; 4(4): 72-78.

Thai Industrial Standards Institute (TISI). Herbal Body Cream/Lotion Product. THAI SMEs STANDARD 15-2018. Available Source: https://www.tisi.go.th/as sets/website/pdf/tiss/15-2561.pdf.

Piluzza, G. & Bullitta, S. Correlations between phenolic content and antioxidant properties in twenty-four plant species of traditional ethnoveterinary use in the Mediterranean area. Pharmaceutical Biology 2011; 49(3): 240-247.

เจนจิรา จิรัมย์ และประสงค์ สีหานาม. อนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ: แหล่งที่มาและกลไกการเกิดปฏิกิริยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ 2557; 1(1): 59-70.

อำพล บุญเพียร และลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์. การศึกษาประสิทธิผลของการนวดด้วยน้ำคั้นไพลและน้ำมันไพลต่ออาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562; 6(1): 121-130.

Klaphajone, J., Chutarattana, N. & Lee, P. Efficacy of topical plai (Zingiber Cassumunar) cream extract for symptomatic relief of delayed onset muscle soreness. Biomedical Sciences and Clinical Medicine 2017; 56(2): 69-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29