แนวทางการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุ โดยวิถีธรรมชาติชุมชนท้องถิ่น ตำบลห้วยทราย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • กริช เรืองไชย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นัชชา ยันติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อภิญญา อุตระชัย คณะวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

แนวทางการดูแลสุขภาพ, โภชนาการ, ผู้สูงอายุ, วิถีธรรมชาติชุมชนและคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา เพื่อศึกษาแนวทางการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุ โดยวิถีธรรมชาติชุมชนท้องถิ่นเพื่อคุณภาพชีวิต ตำบลห้วยทราย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน คัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงแบบตรงตามประเด็นของการวิจัย ให้ข้อมูลแบบตรงตามประเด็นการวิจัย เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแนวทาง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วย 1) ปัญหาสุขภาพด้านโภชนาการผู้สูงอายุมีสาเหตุจากพฤติกรรมและความเชื่อที่ถ่ายทอดภายในครอบครัว การรักษาความสมดุลของร่างกายกับสิ่งแวดล้อมเป็นวิธีการทำให้มีสุขภาพดีได้ 2) ข้อมูลและประโยชน์ของอาหารประจำถิ่นช่วยให้มีสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลอาหารที่มีประโยชน์ในพื้นที่ เช่น ผักปลูกเอง สัตว์ที่เลี้ยงเป็นอาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพแท้จริง 3) ความรู้สึกเมื่อเกิดผลกระทบด้านโภชนาการต่อร่างกาย การเจ็บป่วยทางกายเป็นผลต่อเนื่องสู่ปัญหาสุขภาพจิต การเข้าใจธรรมชาติของโรคจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อโรคที่เป็นอยู่ลดลงได้ 4) การแก้ไขปัญหาสุขภาพด้านโภชนาการ เป็นกลไกของการสร้างพฤติกรรมสุขภาพร่วมกันโดยเน้นการช่วยเหลือโดยผู้สูงอายุที่มีความรู้ด้านสุขภาพถ่ายทอดหลักและวิธีการดูแลสุขภาพตนเองร่วมกับการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชุมชนเป็นหลัก

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ข้อมูลทั่วไปด้านประชากร ปี 2565. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.boi.go.th/index.php?page=demographic&language=th

กรมกิจการผู้สูงอายุ. รายงานประจำปี กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ สำนักส่งเสริมสุขภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/opdc-2563

ศิริพร ตันจอ. แนวทางการเลือกอาหารและสารอาหารสำหรับผู้สูงวัย. วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ปี 2565; 53(1): 65-75.

สำนักโภชนาการ. ธงโภชนาการผู้สูงอายุ ปี 2565. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 26 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/elderlybook/194718

Walter AJ. Phenomenology: Implications for nursing research. J Adv Nurs. 1995; 22: 791-799.

Wilding C, Whiteford G. Phenomenological research: An exploration of conceptual, theoretical, and practical issues. OTJR Occup Particip Health 2005; 25(3): 98-104.

Leonard VWA. Heideggerian Phenomeno-logic perspective on the concept of the Person. Adv Nurs Sci 1989; 9: 40-55.

Omery A. Phenomenology: a method for nursing research. Adv Nurs Sci 1983; 5: 49-63.

ชวิศา แก้วอนันต์. โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 12(2): 112-9.

ชนญญา ชัยวงศ์โรจน์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: การสื่อสารสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม 2564; 9(1): 80-7.

กมลพร สวนทอง. การศึกษาอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จากอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวเรียนรู้อาหารเชิงสุขภาพชุมชนของภูมิภาคตะวันตก: กรณีศึกษาชุนหนองโรง ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2563. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ 2563; 27(1): 237-273.

Kulprasutidilok A, Phollawan P. Knowledge for Healthcare from the Local Wisdom of Thai Song Dum Community in Bandon U-thong District, Suphanburi Province. J Community Dev Life Qual 2018; 6(1): 106–116.

Kulprasutidilok A, Phollawan P. Knowledge for Healthcare from the Local Wisdom of Thai Song Dum Community in Bandon U-thong District, Suphanburi Province. J Community Dev Life Qual 2018; 6(1): 106–116.

Sergi G, Bano G, Pizzato S, Veronese N, Manzato E. Taste loss in the elderly: possible implications for dietary habits. Crit Rev Food Sci Nutr 2017; 57: 3684-9.

ธนภรณ์ จิตตินันทน์ และณัคนางค์ กุลนาถศิริ. ถอดบทเรียนนโยบายรับมือสังคมสูงวัยจากต่างประเทศ. สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2560. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://themoment.om.co/happy.lifeaging.society.

Rungsawang T, Tongtanunam Y, Nusawat J, Panpin S. The competency development of elderly care managers in Nonthaburi Province: A monitoring and evaluating research study. J Health Sci Res 2020; 14(2): 93-104.

Michalos AC. Arts and the Quality of Life: an Exploratory Study. Soc Indic Res 2005; 71(1-3): 11-59.

Mills D. Cultural Planning - Policy Task, Not Tool. Artwork Mag 2003; 55: 7-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11