ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคพืชกระท่อมของประชากรกลุ่มวัยแรงงานในพื้นที่ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อัษฎาวุฒิ โยธาสุภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • แก้วกาญจนา บุญมาสีใส นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศิริรัตน์ คำเนียม นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • วรัฐภรณ์ พอขุนทด นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

พืชกระท่อม, พฤติกรรมการบริโภค, วัยแรงงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการบริโภคพืชกระท่อมของประชากรกลุ่มวัยแรงงานในพื้นที่ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานอายุ 20-59 ปี ในพื้นที่ตลาดไท คำนวณตัวอย่างจากสูตรของ Daniel จำนวน 276 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ทำการเก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์อีตา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 77.9 มีความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อม ทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อม และพฤติกรรมการใช้พืชกระท่อมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.2, 74.3, 59.4 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคพืชกระท่อมของประชากรกลุ่มวัยแรงงานในพื้นที่ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ เพศ โรคประจำตัว ความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อม ทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคพืชกระท่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.05 สรุปผลการศึกษา ควรการดำเนินการเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้พืชกระท่อม ควรมุ่งเน้นกิจกรรมการสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อมโดยเฉพาะด้านผลกระทบ ด้านกฎหมาย และสร้างทัศนคติต่อพืชกระท่อมในกลุ่มวัยแรงงาน เพื่อให้วัยแรงงานลดการใช้พืชกระท่อมหรือไม่นำไปสู่การนำไปใช้ในทางที่ผิด

References

Singh D, Narayanan S, Vicknasingam B. Traditional and non-traditional uses of Mitragynine (Kratom): A survey of the literature. Brain Res Bull 2016; 126(Pt 1): 41-6.

Ulbricht C, Costa D, Dao J, Isaac R, LeBlanc YC, Rhoades J, et al. An Evidence-Based Systematic Review of Kratom (Mitragyna speciosa) by the Natural Standard Research Collaboration. Journal of Dietary Supplements 2013; 10(2): 152-70.

Kruegel AC, Gassaway MM, Kapoor A, Váradi A, Majumdar S, Filizola M, et al. Synthetic and Receptor Signaling Explorations of the Mitragyna Alkaloids: Mitragynine as an Atypical Molecular Framework for Opioid Receptor Modulators. J Am Chem Soc 2016; 138(21): 6754-64.

Kumarnsit E, Keawpradub N, Nuankaew W. Acute and long-term effects of alkaloid extract of Mitragyna speciosa on food and water intake and body weight in rats. Fitoterapia 2006; 77(5): 339-45.

พระราชบัญญัติพืชกระท่อม 2565. ราชกิจจานุเบกษา. 2565; 139(52 ก): 1-14.

Panyaphu D, Namkeard S, Inchai W, Yossathera K. Kratom: Herbal Medicine or Narcotic Drug. Journal of Traditional & Alternative Medicine 2016; 14: 15.

Manop Kanato, Kanittha Thaikla, Sawitri Assanangkornchai, Chitlada Areesantichai, Sayamol Charoenratana, Poonrut Leyatikul, et al. Report on the results of a household survey to estimate the population of drug users in Thailand in 2019. 2019.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ข้อเท็จจริงและตัวเลข: สารเสพติดผิดกฎหมายในประเทศไทย ปี 2560-2563= Facts and figures : illegal substances in Thailand 2017-2020; 2563.

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, ทัศนพรรณ เวชศาสตร์, นลพรรณ ขันติกุลานนท์ และคณะ.

ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อม ของประชาชนอายุ 18 ปี ในชุมชนบ้านกระเเชงจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2566; 18(2): 45-59.

Hassan Z, Muzaimi M, Navaratnam V, Yusoff NH, Suhaimi FW, Vadivelu R, et al. From Kratom to mitragynine and its derivatives: physiological and behavioural effects related to use, abuse, and addiction. Neurosci Biobehav Rev 2013; 37(2): 138-51.

Daniel WW. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences: Wiley; 1978.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. 1971.

Best JW. Research in Education. 3rd. Engle Wood Cliff: NJ Prentice Hall. 1977.

กุสุมาลย์ น้อยผา, วิทวัส หมาดอี, สรายุทธ หวังเกตุ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้พืชกระท่อมในการดูแลตนเองของประชาชนในพื้นที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารหมอยาไทยวิจัย 2565; 8(2).

รดาธร อัญภัทรถาวร และพิพัตน์ นนทนาธรณ์ .(2565). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติต่อ การใช้กระท่อมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย; 27(2): 150-165.

Schwartz NE. Nutritional knowledge, attitudes, and practices of high school graduates. J Am Diet Assoc. 1975; 66(1): 28-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01