การศึกษาคุณภาพและความพึงพอใจต่อการจัดระบบบริการคลินิกเด็กสุขภาพดี มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กในเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา บุญเจียม ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

คลินิกเด็กสุขภาพดี, คุณภาพ, ความพึงพอใจ, มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพและความพึงพอใจต่อการจัดระบบบริการคลินิกเด็กสุขภาพดีมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กในเขตสุขภาพที่ 7 เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคม 2566-สิงหาคม 2566 โดยมีรูปแบบเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกจังหวัดในเขตสุขภาพเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) 1 จังหวัด และเลือกโรงพยาบาลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 4 แห่ง โดยมีการสัมภาษณ์ผู้ให้บริการ 21 คน และผู้รับบริการ 35 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 56 คน ข้อมูล
เชิงคุณภาพนำเสนอโดยวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น ข้อมูลเชิงปริมาณนำเสนอด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า โดยส่วนใหญ่หน่วยบริการดำเนินการได้ตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก ผู้รับบริการได้รับบริการตามมาตรฐานคลินิกเด็กสุขภาพดี ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อบริการในภาพรวม คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 4.52 พึงพอใจเรื่องขั้นตอนการให้บริการและค่าใช้จ่ายมากที่สุด พึงพอใจเรื่องมุมส่งเสริมสุขภาพ (พัฒนาการ/ฟัน/โภชนาการ) น้อยที่สุด และการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก

References

สมัย ศิริทองถาวร. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี สำหรับผู้ปกครอง [อินเทอร์เน็ต]. สถาบันพัฒนาเด็ก ราชนครินทร์กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaichilddevelopment. com/ images/ doc/Ebook1.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2560.

กระทรวงสาธารณสุข. การบูรณาการความร่วมมือ 6 กระทรวง การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต กลุ่มเด็กปฐมวัย (0-6 ปี) พ.ศ. 2565 - 2569. [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hp. anamai.moph.go.th/th/manuals-of-official/download/? did=209144 &id=91630&reload=.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. จำนวนเกิดในไทยดิ่งต่ำ ตายแตะปีละ 6 แสน น่าใจหาย ผู้หญิงมีลูกเฉลี่ย 1.1 คน. [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath. co.th/scoop/ the issue/2605361

ศุทธิดา ชวนวัน และปราโมทย์ ประสาทกุล. ขนาดประชากรที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. วารสารประชากรศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 2563; 36(1): 1-18.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และวันวิสาห์ แก้วแข็งขัน. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. มาตรฐานโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว. [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/Malulee001.pdf

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก. [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cpho.moph.go.th/system_ ssj_ebook/pdf/2016-03/cphbook_2_32741.pdf

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. การประเมินตนเองของโรงพยาบาลตามมาตรฐานอนามัยแม่และเด็กในปีงบประมาณ 2565. [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mchlisthailand. anamai.moph.go.th

กรแก้ว ถิรพงษ์สวัสดิ์, พงศ์สุรางค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, อรพินท์ ภาคภูมิ และธัญวลัย พิตรพิบูลโภคิน. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในคลินิกเด็กดีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตการสาธารณสุขที่ 10 และ 12. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์; 2558.

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบที่ 2. [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://inspection.moph.go.th/e-inspection/file_docth/2022-10-17-03-18-10.pdf

สมพันธ์ เตชะอธิก และพะเยาว์ นาคำ. สรุปบทเรียน และติดตามผลเพื่อพัฒนาระบบการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2552; 3(1): 113-130.

วิไลลักษณ์ ทิวากรกฎ. ความพึงพอใจและผลกระทบภายหลังการถ่ายโอนภารกิจด้านทันตสาธารณสุขให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารแพทย์เขต 4-5 2565; 41(4): 437-448.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27