การพัฒนารูปแบบการนิเทศของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ฉวี เตชะภัทร กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • อารี ฉอ้อนโฉม กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • จันทนา ชูเกษร กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การนิเทศทางการพยาบาล, การทำความสะอาดช่องปาก

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ศึกษาระหว่างกันยายน 2566 ถึงพฤษภาคม 2567 แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ วิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนารูปแบบการนิเทศฯ การทดลองใช้ ปรับปรุงและประเมิน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ตรวจการฯ 22 คน พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้และความพึงพอใจเรื่องการนิเทศของผู้ตรวจการฯ และพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานนอกเวลาราชการต่อรูปแบบฯ และสถิติอุบัติการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
เชิงพรรณนา Content analysis และ Paired t-test

ผลวิจัย พบว่า รูปแบบการนิเทศที่พัฒนามี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ระบบการเตรียมผู้นิเทศทางการพยาบาล 2) การกำหนดข้อตกลง 3) การรับฟังปัญหาและกำหนดหัวข้อ 4) การสำรวจทำ
ความเข้าใจปัญหาและวางแผน 5) การปฏิบัติการนิเทศ 6) การทบทวนประเมินผลและสะท้อนกลับข้อมูล ผลลัพธ์หลังการใช้รูปแบบฯ ค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องการนิเทศของผู้ตรวจการฯ (ระดับมาก) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ตรวจการฯ (ระดับมากที่สุด) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของพยาบาลปฏิบัติการนอกเวลาราชการ (ระดับมาก) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value < 0.001)
ไม่พบอุบัติการณ์ข้อร้อง เรียน พฤติกรรมบริการ การบริหารเตียงและการบริหารอัตรากำลัง

ข้อเสนอแนะ รูปแบบการนิเทศสามารถนำไปใช้ในหน่วยบริการพยาบาลอื่นๆ ได้โดยปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์

References

อุไรวรรณ จุ้ยตาย, คัทรียา รัตนวิมล, วชัญญา บุณยมณี, ศิริพร วงศ์จันทรมณี. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นในโรงพยาบาลสุโขทัยด้วยหลักความปลอดภัย 2P SAFETY. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16: 202-215.

ชญานุช ตรงต่อกิจ, อรอนงค์ วิชัยคำ, กุลวดี อภิชาติบุตร. การวิเคราะห์สถานการณ์การนิเทศทางการพยาบาลของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการห้องผ่าตัด โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. พยาบาลสาร 2563; 47: 252-265.

อรรถยา อมรพรหมภักดี, ฐาศุกร์ จันทร์ประเสริฐ, อมราพร สุรการ. การนิเทศทางการพยาบาล: การทบทวนแบบกำหนดขอบเขต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563; 30: 144-157.

รายงานการประชุมความเสี่ยงโรงพยาบาลเสนา. 2566.

รัชนี อยู่ศิริ, กมลรัตน์ เอิบสิริสุข, จรี นฤมิตรเลิศ, พรทิพย์ ชีวพัฒน์. การบริการการพยาบาล. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยสภากาชาดไทย; 2551.

Fayol, H. General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman & Sons; 1949.

Hawkin, P, Shohet, R. Supervision in the Helping Professions. London: YHT; 2006.

อานนท์ ชุนดิติสกุล. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thetsis.com/post/research-tips-sampling

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553.

มธุรส ตันติเวสส, การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลสำหรับผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการโรงพยาบาลสงฆ์. [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

ธนพร แย้มสุดา, ขันธ์แก้ว ลักขณานุกูล. ความรู้และการปฏิบัติการนิเทศทางการพยาบาลของผู้นิเทศทางการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศึกษาศาสตร์ 2564; 8: 121-134.

ศรีวรรณ เรืองวัฒนา, พรธนา แก้วคาปา, อรทัย ธรรมป๊อก. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ในกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2567; 15: 108-124.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-12