การพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็กปฐมวัย สำหรับผู้ปกครอง
คำสำคัญ:
การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็กปฐมวัย, สื่อแอนิเมชั่นบทคัดย่อ
พัฒนาการด้านภาษา พบว่า เป็นด้านหนึ่งที่เด็กปฐมวัยไทยมีปัญหามากที่สุด ผู้วิจัยจึงต้องการจะพัฒนาสื่อแอนิเมชันที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครอง ด้วยการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติ Paired t-test และสถิติ Spearman Rank Correlation Coefficient เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ ประเมินความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ และประสิทธิผลของสื่อ ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการเยี่ยมบ้าน
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยมีความรู้จากการใช้สื่อแอนิเมชันในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็กปฐมวัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : EI) เท่ากับ 0.6627 แสดงว่า มีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.27 ประสิทธิผลของสื่อต่อความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ปัจจัยเพศ (rs = 0.391) , ระดับการศึกษา (rs = 0.425) มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ในทิศทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความรู้ (rs = 0.576) มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ และการนำไปใช้ประโยชน์ในทิศทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะในการวิจัยควรสนับสนุนการใช้สื่อแอนิเมชันในการให้ความรู้ร่วมกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
References
กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูล Health Data Center (HDC) [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ
พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
จินตนา พัฒนพงศ์ชร.โครงการสำรวจพัฒนาการและพฤติกรรมของมารดาระยะตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด และการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560 กรมอนามัย [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaichilddevelopment.com/new
ฤดีมน สกุลคู. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการล่าช้าด้านภาษาในเด็กอายุ 2-5 ปี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 31(5): 788-796.
ชลิดา ชนัฐธีรกุล. เด็กไทยกับโรคที่ไร้การเล่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2559; 39 (2): 155-161.
อัมพร สัจจวีรวรรณ และประภาเพ็ญ สุวรรณ. การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครองในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการใช้ภาษาสงสัยล่าช้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม 2566; 7(5): 274-293.
Orem, D.F. Nursing Concept of Practice (5 th ed.). St. Louis : Mosby – Year Book Publications. 1995.
ปิยะนันท์ โพธิชัย. การพัฒนาสื่อแอนิเมชันที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจผลกระทบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์และส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็กปฐมวัย. วาสาร Health 2562; 42 (3): 63-74.
ธนัทพัชร์ อยู่โต. การพัฒนาแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. [สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2563.
Bloom, B. S. et al. Hand book on formative and summative evaluation of Student learning. New York: McGraw Hill.1971.
อธิวัฒน์ บุตรดาบุตร. การพัฒนาโปรแกรมแอปพลิเคชันการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม เพื่อวัยใสไทยแลนด์ 4.0 ในอำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ เขตสุขภาพที่ 7 ขอนแก่น. [ดุษฎีนิพนธ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2565.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์นพิมพ์; 2545.
ขจรศักดิ์ ทองรอด. กระบวนการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 2559; 10(1): 105-118.
Hovland, Lumsdaine and Sheffield. Cited in Goodman, R. I. , Fletcher, K. A. and Schneider, E.W. 1980. The effectiveness Index as a comparative measure in media product. Educational Technology 1949; 20 (09): 30 – 34.
กาญจนา พรหมเรืองฤทธิ์, จิตรรดา พงศธราธิก, จารุต บุศราทิจ, ธนวรรณ ดนตรี, สมบัติ ไวยรัช และกรวรรณ ศรีจันร์. การพัฒนาสื่อการสอนชนิดการ์ตูนแอนิเมชันแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลในการพัฒนาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (proceeding) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 5. 2562; 1637-1645.
นรุตม์ กลัดสำเนียง, อวิรุทธ์ เจริญทรัพย์ และชัยพร พานิชรุทติวงศ์. การออกแบบสื่อแอนิเมชัน 3 มิติเพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงผลเสีย จากการเลี้ยงดูบุตรด้วยความเข้มงวดจนเกินไป. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้ง 17 ปีการศึกษา 2565; 138-148.
รสวันต์ อารีมิตร. แอปพลิเคชันใสๆ ผู้ช่วยคนใหม่ในการดูแลลูกคุณลูก KhunLook: ติดตามพัฒนาการทุกช่วงวัยจบครบในแอปเดียว. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33(5): 9-16.
อมรรัตน์ เขียวเปี่ยม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ สมรรถนะแห่งตน และการปฏิบัติของมารดาเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กวัยหัดเดิน. วารสารพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2566; 50(1): 343-354.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น