การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนอาหารปลอดภัย อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ : กรณีศึกษาการลดสารเคมีตกค้าง
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การลดสารเคมีตกค้าง, คุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.), อาหารปลอดภัยบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนชุมชนอาหารปลอดภัย อำเภอฆ้องชัย เมืองอาหารปลอดภัย กรณีศึกษาการสารเคมีตกค้าง คัดเลือกจากกลุ่มตัวแทนคณะกรรมการ ภาคีเครือข่าย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ด้วยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบคำถามสนทนากลุ่ม ระยะเวลาการศึกษา 6 เดือน วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และ สถิติการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า คณะกรรมการที่เป็นตัวแทนจากภาคีเครือข่าย อายุเฉลี่ย 53.3 ปี ประสบการณ์ทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต เฉลี่ย 3.13 ปี ผลการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พบว่า (1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา และกำหนดเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบอาหารปลอดภัย (2) สรุปสถานการณ์และพฤติกรรมเสี่ยง และการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (3) การติดตามประเมินผลในหมู่บ้านต้นแบบ สรุปผลและจัดมหกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เพื่อมอบรางวัลให้หมู่บ้าน พชอ. ต้นแบบ และ (4) ประเมินผลการดำเนินการด้วย TOWS analysis และการนำเสนอการเปรียบเทียบรูปแบบการดำเนินงาน ก่อน-หลัง พัฒนาฯ ทั้งนี้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบในการเข้าร่วมการประเมินอาหารปลอดภัย ภายใต้การดำเนินงานของ พชอ.ภายใต้คำจัดความของคำว่า K-FRAMES คือ ภาพที่อยากให้ปรากฏเพื่อชาวฆ้องชัย ในการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย, และ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561; 2561.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. การสาธารณสุขไทย 2559-2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
สำนักงานยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย. คู่มือการประกอบการพิจารณาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีวาด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561.นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
มยุรี สุวรรณโคตร. ข้อมูลประเด็น พชอ. ดีเด่นผลลัพธ์เชิงประจักษ์. พชอ. ฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์; 2565. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฆ้องชับ จังหวัดกาฬสินธุ์; 2565.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมโรคและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2563. [อินเตอร์เน็ต] 2566. [เข้าถึงเมื่อ10 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/download/AW_AESR_NCD_2563.pdf
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center: HDC). รายงานการตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืช ในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป 2563-2565. [อินเตอร์เน็ต] 2566. [เข้าถึงเมื่อ15 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68&id=dd45886fb33ececf637145b7561ec244
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี 2560. [อินเตอร์เน็ต] 2560. [เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/doed/pagecontent.php?page=888&dept=doed.
Demming WE. Out of the Crisis. MIT Press; 1986.
ภูดิท เพชาติวัฒน์, อรพินท์ เล่าซี้, วิชช์ เกษมทรัพย์, เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, วิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล, ดุษฎี กำมี และคณะ. โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอนโยบายเพื่อพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. นครปฐม: สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
ศักดินันท์ ดวงตา (2565). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของอำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ. [อินเตอร์เน็ต] 2565. [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2566], เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/index.php?fn=detail&sid=203
ธงชัย ปัญญูรัตน์. ผลของรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(2): 113-144.
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
วรชาติ จำเริญพัฒน์. ผลการประเมินกระบวนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16(1): 179-192.
สุพัตรา ถิ่นไพบูลย์, ศรีบุศย์ ศรีไชยจรูญพงษ์, และชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14(1): 431-448.
สำนักนโยบายและแผนกทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร. [อินเตอร์เน็ต] 2567. [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/BCgW9
ปิยวดี ฉายแสงมงคล. การพัฒนาอาหารปลอดภัยด้วยภาคีเครือข่ายของภาครัฐและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน. [อินเตอร์เน็ต] 2563. [เข้าถึงเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2568]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/0g7wS
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น