ผลลัพธ์การรักษาและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคเชื้อดื้อยาโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ สุระเสียง โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, เภสัชกรรมทางไกล, วัณโรคดื้อยา, อัตราความสำเร็จ

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์การรักษาและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคดื้อยาโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วย
วัณโรคดื้อยาในคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลยางตลาด ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงระหว่างปีงบประมาณ 2557-2566 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของโรงพยาบาลยางตลาดร่วมกับโปรแกรมของกองวัณโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบฟิชเชอร์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 87.50 ช่วงอายุที่พบเชื้อมากที่สุดคือ 46-60 ปี ร้อยละ 40.00 มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.50 กก./ม.2 ร้อยละ 50.00 มีอัตรารักษาสำเร็จร้อยละ 65.00 ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และปัจจัยที่มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคดื้อยาคือ ช่วงอายุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาที่มีอายุน้อยมีผลต่อการรักษาวัณโรคสำเร็จ

ข้อเสนอแนะ ควรมีการดำเนินงานมาตรการป้องกันและควบคุมวัณโรคดื้อยาอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพและชุมชน รวมถึงแนวทางการติดตามการรักษาด้วยการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์และการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทยปี 2566. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2567].เข้าถึงได้จาก: รายงานสถานการณ์เเละการเฝ้าระวังวัณโรค เเละวัณโรคดื้อยาในประเทศไทย (tbthailand.org)

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้้อยา พ.ศ. 2567. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2567.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ตัวชี้วัด 25.1. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index/?d=1592

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562-2566. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2567.

โรงพยาบาลยางตลาด. (2566). ตัวชี้วัดอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรคและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค [ไม่ได้ตีพิมพ์]. กาฬสินธุ์: งานคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลยางตลาด.

นันทวัฒน์ ตันธนาสุวัฒน์. ผลลัพธ์การรักษาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดในผู้ใหญ่ ณ คลินิกควบคุมการติดเชื้อทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.

วีระวรรณ เหล่าวิทวัส, เอมวิกา แสงชาติ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2566. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2567; 17(1): 72-90.

ฐานันดร์ ฐานวิเศษ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2563; 40(1): 97-107.

นิโลบล นาคบำรุง, ยศวดี เพ็ชรคำ, ศศิธร แดงเจย์, สุกัญญา บุญช่วย, ตั้ม บุญรอด, วิชชาดา สิมลา. ผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(4): 646-659.

สุชญา รักษ์ศรี, พิมาน ธีระรัตนสุนทร, จุฑารัตน์ สถิรปัญญา, สุภา เพ่งพิศ. สถานการณ์วัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2566; 6(1): 1-12.

นันทวัฒน์ ตันธนาสุวัฒน์, กมล แก้วกิติณรงค์, กำพล สุวรรณพิมลกุล, ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์. ผลลัพธ์การรักษาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดในผู้ใหญ่ ณ คลินิกควบคุมการติดเชื้อทางเดินหายใจ. วารสารเภสัชกรรมไทย 2566; 15(2): 376-388.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-01

How to Cite

สุระเสียง ก. (2025). ผลลัพธ์การรักษาและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคเชื้อดื้อยาโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 18(1), 16–28. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271525