ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข: กรณีศึกษากลุ่มเขตกรุงเทพใต้
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุข, ปัจจัยที่มีอิทธิพลบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของแดเนียล (2010) จำนวน 371 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาณ ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขอยู่ในระดับมาก ปัจจัยนำ ได้แก่ ทัศนคติเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยเอื้อได้แก่ การอบรมด้านสาธารณสุข การเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ และปัจจัยเสริม ได้แก่ การรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ มีความสัมพันธ์ทางบวก ( r = 0.318, 0.452, 0.207, 0.123, และ 0.408 ตามลำดับ) การรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ และการเข้าร่วมประชุมประจำเดือนกับเจ้าหน้าที่ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ได้ร้อยละ 28.2 (R2 = 0.282, p-value < 0.001)
References
รัชนี วิกล, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร, ธวัชชัย วรพงศธร, เอมอัชฌา วัฒนาบุรานนท์ และเกษม ชูรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2560; 61: 291-300.
กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://webportal.bangkok.go.th/health.
นรลักขณ์ เอื้อกิจ และลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562; 12: 38-48.
Polit, D. F. Statistics and data analysis for nursing research. 2nd ed. New Jersey: Pearson; 2010.
กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา; 2561.
พัชราภา กาญจนอุดม, ศุภกร หวานกระโทก และสุนทรี รักความสุข. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในอําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2563; 21: 34-45.
เมธี สุทธศิลป์, วลัยลักษณ์ พันธุรี และศศิวรรณ ส่งต่าย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก. เชียงรายเวชสาร 2565; 14: 33-44.
ทัศดาพร แจวิจารณ์, ณัฏฐณิชา สนั่นก้อง, นัซมีน เจ๊ะกา, สุกาญจนา กำลังมาก, และยมล พิทักษ์ภาวศุทธิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพในสถานการณ์โควิด-19 ในนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16: 60-73.
Bandura, A. "Self-efficacy. Toward a unifying theory of behavioral change," Psycho-logical Review 1977; 84: 191-215.
ดาวรุ่ง เยาวกูล, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม, และนิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15: 257-272.
ปรีชา สุวรรณทอง, วนิชา อินทรสร, และวาริศา บุญเกิด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัด ชลบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16: 169-182.
ฉันท์ทิพย์ พลอยสุวรรณ, รัตนชัย เพ็ชรสมบัติ, ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน, และธนะวัฒน์ รวมสุก. ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาคตะวันออก: กรณีศึกษา อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัด สระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16: 15-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น