พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา บุญเจียม ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • นิตยา พรรณาภพ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย, พฤติกรรมการเลี้ยงดู

บทคัดย่อ

การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงดู      เด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู เขตสุขภาพที่ 10 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะทางสังคมประชากรของผู้เลี้ยงดูกับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยด้วยการสัมภาษณ์ผู้เลี้ยงดูเด็ก 460 คน
โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression)

ผลการวิจัย พบว่า ผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 91.7 อายุเฉลี่ย 44.9 ปี อายุน้อยที่สุด 15 ปี อายุมากที่สุด 80 ปี พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้เลี้ยงดูเด็ก เขตสุขภาพที่ 10 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้เลี้ยงดู มี 2 ปัจจัย คือ 1) ระดับการศึกษาของผู้เลี้ยงดู (AOR = 2.1; 95%CI: 1.16 to 3.64; p-value = 0.013) และ 2) การอาศัยอยู่กับบิดามารดาของเด็ก (AOR = 1.6; 95%CI: 1.19 to 2.99; p-value = 0.025) ดังนั้น การสร้างเสริมผู้เลี้ยงดูมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่เหมาะสมต้องส่งเสริมให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกัน เด็กได้อยู่กับบิดามารดา และส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เลี้ยงดูมีระดับการศึกษาสูงที่สุด นำความรู้มาเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถสร้างพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมแก่ผู้เลี้ยงดูได้

References

Walker SP, Wachs TD, Grantham-McGregor S, Black MM, Nelson CA, Huffman SL, et al. Inequality in early childhood: risk and protective factors for early child development. Elsevier Ltd all Rights Reserved 2011; 378(9799): 1325-38.

สมัย ศิริทองถาวร. คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี สำหรับผู้ปกครอง [อินเทอร์เน็ต]. สถาบันพัฒนาเด็ก ราชนครินทร์กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaichilddevelopment. com/ images/ doc/Ebook1.pdf.

World Health Organization. Developmental Difficulties in Early Childhood: Prevention, early identification, assessment and intervention in low-and middle-income countries: A Review. Child and Adolescent Health and Development. Turkey: Turkey Country Office and CEECIS Regional Office; 2012.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ปี 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

องค์การยูนิเซฟ. ความเหลื่อมล้ำ ช่องว่างปัญหาเด็กและสตรี: ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ. 2558-2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef org/thailand/tha/Thailand_MICS_Full_Report_TH.pdf

Lee M. Sanders, Steven Federico, Perri Klass, Mary Ann Abrams and Benard Dreyer. Literacy and Child Health A Systematic Review. Arch Pediatr Adolesc Med 2009; 163(2): 131-40.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2567. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2567.

เสาวคนธ์ วีระศิริ, สุรพล วีระศิริ, พิมภา สุตรา และจริญญา โคตรชนะ. การเสริมสร้างศักยภาพบิดามารดาในการเลี้ยงดูลูกเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพในวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560; 62(3): 201-10.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998;17: 1623-34.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ความรอบรู้ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ปี 2562. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562. [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nich.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/nich/330_ article_ file.pdf

National Statistical Organization. Thailand multiple Indicator cluster survey. In Bangkok: National Statistical Organization and UNICEF; 2012.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์; 2554.

Ju Young Lee. Maternal Health Literacy among Low-Income Mothers with Infants. Dissertation Presented to the Faculty of the Graduate School of The University of Texas at Austin in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of Philosophy; 2016.

Darren, A.D. Health Literacy and Child Health Outcomes: A Systematic Review of the Literature. PEDIATRICS 2009; 124(3): 265-274.

สุพัตรา บุญเจียม. พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2564; 13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-01

How to Cite

บุญเจียม ส., & พรรณาภพ น. (2025). พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดู เขตสุขภาพที่ 10. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 18(1), 81–94. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/272475