ความรู้ ทัศนคติ เกี่ยวกับพืชกระท่อมในประชาชนกลุ่มวัยทำงาน ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นิลุบล ปานะบุตร ทันตแพทย์ชำนาญการภาควิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • เพ็ญนภา วงศ์ใส นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อุบลราชธานี
  • อรพรรณ ลาลุน นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อุบลราชธานี
  • วรัญญู อ่อนสี ทันตแพทย์ชำนาญการภาควิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

วัยทำงาน, พืชกระท่อม, ความรู้, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อม และเพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อมในประชาชนกลุ่มวัยทำงานอายุ 18-59 ปี ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบไปด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษาสูงสุด และอาชีพ ดำเนินการวิจัยเป็นระยะเวลา 2 เดือน (สิงหาคม-ตุลาคม 2567) กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มจำนวน 231 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อม และทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test และ Kruskal Wallis Test

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อมอยู่ในระดับปานกลาง (equation= 13.29 , S.D. = 2.21) และ (equation= 2.73, S.D. = 0.28) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความรู้เกี่ยวกับพืชกระท่อมกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับทัศนคติเกี่ยวกับพืชกระท่อมกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษาสูงสุด และอาชีพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (H = 11.851, p-value = 0.008 , H = 13.323, p-value = 0.010 และ H = 13.166, p-value = 0.022) ตามลำดับ

References

Singh D, Narayanan S, Vicknasingam B. Traditional and non-traditional uses of Mitragynine (Kratom): A survey of the literature. Brain Research Bulletin 2016; 126: 41-6.

อำนวย ธัญรัตน์ศรีสกุล.พืชกระท่อมกับการดูแลสุขภาพของคนไทย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 1(5).

Swogger MT, Smith KE, Garcia-Romeu A, Grundmann O, Veltri CA, Henningfield JE, et al. Understanding kratom use: a guide for healthcare providers. Frontiers in pharmacology 2022; 13: 801855.

Eastlack SC, Cornett EM, Kaye AD. Kratom—pharmacology, clinical implications, and outlook: a comprehensive review. Pain and therapy 2020; 9: 55-69.

จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล. พืชออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท. สงขลา: นีโอพ้อยท์; 2554.

Prozialeck WC, Avery BA, Boyer EW, Grundmann O, Henningfield JE, Kruegel AC, et al. Kratom policy: the challenge of balancing therapeutic potential with public safety. J International Journal of Drug Policy 2019; 70: 70-77.

พระราชบัญญัติพืชกระท่อม 2565.ราชกิจจานุเบกษา. (2565); 139(52ก): 1-14.

กิตติยาพร ทองไทย. ปัญหาการใช้ยากลุ่มเสี่ยงในร้านจำหน่ายพืชกระท่อม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ 2567; 4(1): 284-295.

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, ทัศนพรรณ เวชศาสตร์, นลพรรณ ขันติกุลานนท์ และคณะ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้พืชกระท่อมของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านกระแซง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2566; 18(2): 45-59.

กุสุมาลย์ น้อยผา, วิทวัส หมาดอี, สรายุทธ หวังเกตุ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้พืชกระท่อมในการดูแลตนเองของประชาชนในพื้นที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารหมอยาไทยวิจัย 2565; 8(2): 81-98.

อัษฎาวุฒิ โยธาสุภาพ, แก้วกาญจนา บุญมาสีใส, ศิริรัตน์ คำเนียม, วรัฐภรณ์ พอขุนทด.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคพืชกระท่อมของประชาชนกลุ่มวัยแรงงานในพื้นที่ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2567; 17(2): 269-283.

Bloom BS, et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.

Best JW, & Kahn, J. V. . Research in education. New Jersey: Printice Hall. In: Inc; 1997.

Bandura A. Social learning theory: J Englewood Cliffs; 1977.

(UNFPA) UNPF. Impact of demographic change in Thailand. Bangkok, Thailand: UNFPA. : Country Office in Thailand; 2011.

Eagly AH, Wood W. The origins of sex differences in human behavior: Evolved dispositions versus social roles. J American psychologist. 1999;54(6):408.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-01

How to Cite

ปานะบุตร น., วงศ์ใส เ., ลาลุน อ., & อ่อนสี ว. (2025). ความรู้ ทัศนคติ เกี่ยวกับพืชกระท่อมในประชาชนกลุ่มวัยทำงาน ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 18(1), 163–176. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/272482