ประมาณการจำนวนทันตาภิบาลสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยวิธีการจับ เวลาการทํางาน (Stopwatch Time Study) และ วิธีการกําหนดโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert Opinion Standard) : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐหทัย สิงห์คง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สัมมนา มูลสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • แสวง วัชระธนกิจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ไพบูลย์ ดาวสดใส คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ประมาณการ, ทันตาภิบาล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อหาอัตรากำลังของทันตาภิบาลที่เหมาะสมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กลุ่มตัวอย่างเป็นทันตาภิบาล จำนวน 3 คน ที่ทำงานใน รพ.สต. 3 แห่ง ศึกษาลักษณะงานของทันตาภิบาลด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง หาเวลามาตรฐานการทำงาน โดยวิธีการจับเวลาการทำงาน (Stopwatch Time Study) และวิธีการกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert opinion standard) เวลามาตรฐานการทำงานของแต่ละกิจกรรมย่อยโดยเลือกจากทันตาภิบาล 1  คนที่ทำงานไม่ช้าหรือเร่งรีบกว่าปกติ หาปริมาณงานทั้งหมดจากรายงานประจำปี 2558 และคำนวณจำนวนทันตาภิบาลที่เหมาะสมจากข้อมูลดังกล่าว ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2559                   

              ผลการศึกษาพบว่า อัตรากำลังผู้ปฏิบัติงานที่ควรจะมีในงานรักษาและบริการทันตกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแต่ละแห่ง พบว่า อัตรากำลังผู้ปฏิบัติงานที่ควรจะมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก่อมีปริมาณมากที่สุด คือ 1.51 คน รองลงมา คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนเกษม 0.92 คน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่ 0.89 ตามลำดับ

              ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแห่ง มีจำนวนทันตาภิบาลที่ไม่เพียงพอกับปริมาณงาน บางแห่งมีจำนวนทันตาภิบาลเพียงพอกับภาระงาน ในโรงพยาบาลที่มีจำนวนบุคลากรไม่พียงพอกับงาน ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการจัดสรรอัตรากำลังทันตาภิบาลให้เหมาะสมกับปริมาณงานและใช้ในจัดสรรงานให้มีปริมาณการทำงานที่มากขึ้นสำหรับทันตาภิบาลที่มีเวลาว่างจากการทำงานปกติ 

References

1. นภาพร อิ่มสันเทียะ. การศึกษาเปรียบเทียบการวัดเวลามาตรฐานการทำงานโดยวิธีการจับเวลาการทำงาน (Stop watch time study) วิธีการสุ่มงาน (Work sampling) และวิธีการกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert opinion standard) : กรณีศึกษาในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาเชือก. การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย.รายงานบุคลากรด้านทันตสาธารณสุข ประจำปี 2555. โรงพิมพ์กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข; 2555.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. ฐานข้อมูลกลุ่มรายงานมาตรฐานทันตกรรม(บริการ) เขตบริการสุขภาพที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2558; 2558.

4. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการสุขภาพช่องปากในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลครั้งที่ 1. โรงพิมพ์กองทันตสาธารณสุข
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข; 2553.

5. Neal,T. Pharmacy analyzes costs, savings of computer information system. Hospitals 1981; 55 (2), 70-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-24

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)