การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย
คำสำคัญ:
นักศึกษา, ทันตสาธารณสุข, การเรียนรู้, มาตรฐานคุณวุฒิบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross - sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเรียนรู้และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร กลุ่มประชากรในการศึกษา คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 4 ในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดขอนแก่น จำนวน 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสถาพแวดล้อมทางการศึกษาและแบบสอบถามเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของนักศึกษา ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เฉพาะด้านวิชาละ 3 ท่าน โดยวัดค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.66 - 1.00 กระบวนการวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้สถิติ Simple logistic regression เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่สนใจว่ามีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.29 อายุเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 22.27 ปี และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.02 สถาพแวดล้อมทางการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 และความสัมพันธ์ระหว่างภาพรวมของสภาพแวดล้อมทางการศึกษากับการเรียนรู้ของนักศึกษา พบว่า สภาพแวดล้อมของสถาบัน มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ กล่าวคือ ภาพรวมสภาพแวดล้อมของสถาบันที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้มีการเรียนรู้ในระดับต่ำเป็น 4.55 เท่าของภาพรวมสภาพแวดล้อมของสถาบัน ที่มีความเหมาะสม (OR = 4.55; 95% CI = 1.95-10.58; p = <0.001)
References
ประเสริฐ บัวจันอัฐ. (2559). การศึกษาความต้องการสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ(รายงานผลการวิจัย). ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
พัชราภรณ์ โพธิสัย. (2558). สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคำนา ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ . (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา)
วีซานา อับดุลเลาะ และคณะ. (2563). เทศวารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(2).
ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาพยาบาลศาสตร์ (TQF) พ.ศ.2552. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 4(1), น. 185-192.
ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่ และคณะ. (2560). ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลชุมชน หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารพยาบาลตำรวจ, (9)2, น. 104-114.
สถาบันพระบรมราชนก. (2564). มาตรฐานคุณวุฒิหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก http://www.pi.ac.th/
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ : วงศ์สว่าพับลิซซิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). สถิติอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561. บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำกัด.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564, จาก https://www.egov.go.th
สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2553). มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของนักศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษเชิงสถานการณ์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 11(2). น. 223-230.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
Best, J. W., & Kahn, J. V. (1989). Research in education (6th Edition). Englewoods Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
Zieky, M. J., Perie, M. (2006). A primer on setting cut scores on test of educational achievement. Princeton, NJ: Educational Testing Service.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารทันตาภิบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล