คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและความพึงพอใจต่อการเข้ามารับบริการ ฝังรากฟันเทียมและการใส่ครอบฟัน โรงพยาบาลภูเวียง

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ยุทธชาวิทย์ 0815450015
  • ไรวดา ศรีลาศักดิ์
  • กิติยากรณ์ ท้าวนิล
  • ศิริมณี จารุจิตร

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, ความพึงพอใจ, รากฟันเทียม, โครงการ“ขยายผลงานวิจัย DentiiScan เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและความพึงพอใจต่อผู้ที่เข้ามารับบริการฝังรากฟันเทียมและการใส่ครอบฟันในโรงพยาบาลภูเวียง โดยมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยครั้งนี้ทั้งหมด 43 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 2 - 27 เดือนกันยายน พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามเรื่องคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก อ้างอิงจากดัชนีประเมินผลกระทบของคุณภาพช่องปากในชีวิตประจำวัน (OIDP) และความพึงพอใจต่อการเข้ามารับบริการฝังรากฟันเทียมและการใส่ครอบฟัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ด้านการได้รับการตรวจและได้รับคำแนะนำด้วยความเป็นมิตร จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 88.4 ( x̅ =4.86, SD = 0.41) ด้านคุณภาพชีวิตส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหาร โดยมีความถี่ของปัญหา จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 67.44 (x̅ = 1.88, SD = 1.92) และมีความรุนแรง จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 46.51 (x̅ = 0.79, SD = 1.10)

References

สำนักทันตสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2561.

Adulyanon S. & Sheiham A. Oral impacts on daily performances. In: Slade GD, editor. Measuring oral health and quality of life. Chapel Hill: University of North Carolina; 1997.151-60.

จีระวัฒน์ บุตรโคตร. (2560). ความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่รากฟันเทียม จากโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอภูเวียง – หนองนาคำ -เวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 28(1), 73-86.

กัณฐิกา เข็มทอง, ชุติมา นวศรี, ธนพัฒน์ ศาสตระรุจิ และ พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์. (2565). ความพึงพอใจของผู้ป่วยในผลการรักษาด้วยรากฟันเทียม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 319-327.

วรรณพร ศิริวัฒน์, วรรณรพี บานชื่นวิจิตร.(2562). ความพึงพอใจในการบริการของหน่วยทันตกรรม และการลดความสูญสียจากการจ่ายค่าตอบแทนทันตแพทย์รายชั่วโมง โดยที่ผู้ป่วยไม่มารับการรักษาตามจำนวนที่นัดหมาย สถานพยาบาลธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. ค้นคว้าอิสระ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เบญจมาส สือพัฒธิมา. (2556). การประเมินความพึงพอใจและผลกระทบของฟันเทียมต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอหนองบุญมากจังหวัดนครราชสีมา. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 18(1), 36-48.

ศศิกร นาคมณี. (2561). คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทาน โรงพยาบาลบาง

ปะกง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35(1), 30-39.

ชัยรัตน์ ทับทอง. (2557). ความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตภายหลังการใส่ฟันเทียมทั้งปากในโครงการฟันเทียมพระราชทานที่โรงพยาบาลโกรกพระจังหวัดนครสวรรค์. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 20(2), 60-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)