แรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพช่องปาก ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รัฐติภรณ์ ลีทองดี -
  • วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์
  • จีรวัฒน์ บุตรโคตร
  • ชัญญานุช แคว้นเขาเม็ง
  • จินตนา จันสา

คำสำคัญ:

แรงสนับสนุนทางสังคม เบาหวาน, พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 และศึกษาความสัมพันธ์ของแรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อายุระหว่าง 40 -69 ปี จำนวน 100 คน ซึ่งดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าต่ำสุด สูงสุด และสถิติอนุมานใช้ Pearson Product Moment Correlation

ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 74.0 แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 60.0 แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 48.0 แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางสาธารณสุข/ทันตบุคลากรอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 87.0 ผลการทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พบว่าทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ คือ แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (p-value =0.011) แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน (p-value = 0.008) แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางสาธารณสุข/ทันตบุคลากร (p-value =0.010)

References

จินตนา เหลืองศิริเธียร.(2550).การศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทาง สังคมกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวชิรพยาบาลกรุงเทพมหานคร

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุข สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ,ม.ป.ป.(2557). https://kkhdc.moph.go.th

นพวรรณ วสุธรสกุล และ ศิริวิมล ปัญญาผล. (2559). พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม

ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์ ลัดดา อัตโสภณ และ พิศาล ชุ่มชื่น.(2559).ประสิทธิผลของการ ใช้แรงสนับสนุนทางสังคมปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ในการควบคุมโรค ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ในตำบล แพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัด ราชบุรี

วัชราภรณ์ เสนสอนและ สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา. (2553). โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก

วรรณรา ชื่นวัฒนาและณิชานาฏ สอนภักดี. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานตำบลแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนนทบุรี

ศิริพันธ์ หอมแก่นจันทร์.(2559).ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย

เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล ในเขตอำเภอแม่ทะ

จังหวัดลำปาง

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยใน

พระราชูปถัมภ์(2560). ความหมายของ โรคเบาหวานและชนิดของโรคเบาหวาน

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ.(2560).เบาหวาน

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ.(2561).เบาหวาน

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.(2557).ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ

สำนักระบาดวิทยา.(2561).ความชุกและปัจจัยการ เกิดภาวะเบาหวาน

สำนักระบาดวิทยา.(2561).ความชุกและปัจจัยการ เกิดภาวะเบาหวาน

อภิญญา ศิริ พิทยาคุณกิจและคณะ. (2551). แรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ

เตือนใจ ปาประโคนและวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรง สนับสนุนทางสังคมกับบทบาทของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใน การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอำเภอ บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

Caplan RD.et al. (1976). Adtering to Medical Regimens : Pilot Experimental in patient Educationand Social Support. Ann arbour : University of Macihigan.

House, J.S. (1981). Work Stress and Social Support. Reading, Mass: Addison- Wesley.p.

Pender et al.(2011).Pender’s Health Promotion Model and Its Applications in Nursing Practice

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)