ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ศรีสมบูรณ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพจน์ คำสะอาด หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิระพรกุล หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวรรณา เอื้ออรรถการุณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
  • นพวรรณ หวังสุดดี โรงพยาบาลชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

สภาวะโรคฟันผุ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุและศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ ที่โรงพยาบาลชุมพลบุรี 138 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 24 มกราคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยแบบโลจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอค่า Adjusted Odds ratio (Adjusted OR) พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% (95% CI) และค่า p-value       

ผลการศึกษา พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีฟันผุร้อยละ 58.7 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 51.4 อายุเฉลี่ย 26.58 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 39.9 ประกอบอาชีพเป็นแม่บ้าน/ไม่มีอาชีพ ร้อยละ 42.0 ตั้งครรภ์เป็นครั้งที่ 2 ร้อยละ 41.3 มีรายได้เฉลี่ย 6,681.54 บาท และตั้งครรภ์อยู่ไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 52.9 จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและรายได้ของหญิงตั้งครรภ์ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในระดับต่ำมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคฟันผุ 3.77 เท่าเมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในระดับสูง (Adjusted OR = 3.77; 95% CI: 1.78-7.99, p-value = 0.001) และพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้ >11,000 บาท/เดือนเป็นปัจจัยป้องกันการเกิดโรคฟันผุได้ถึง 0.34 เท่าเมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้ ≤11,000 บาท/เดือน (Adjusted OR = 0.34; 95% CI: 0.13-0.91, p-value = 0.032)

References

Panyaphu A. Survey of oral health knowledge of pregnant women. Health Promoting Hospital Health Center 1 Chiang Mai Research. Service Techniques and Academics Group health promotion hospital Health Center 1. Chiang Mai: Department of Health; 2019.

Vichayanrat T, Sittipasoppon T, Rujiraphan T, Meeprasert N, Kaveepansakol P, Atamasirikun Y. Oral health literacy among mothers of pre-school children. Mahidol Dental Journal. 2014; 34(3): 243-252.

Dieng S, Cisse D, Lombrail P, Azogui-Le´vy S. Mothers’ oral health literacy and children’s oral health status in Pikine, Senegal: A pilot study. PLoS One. 2020; 15(1): e0226876.

Yongpisanphop I. Dental caries status of children aged 0-3 year in Ratchaburi province Thailand. Master of primary health care management faculty of graduate studies Mahidol University. Bangkok: Mahidol University; 2017.

Batista MJ, Lawrence HP, Sousa MLR. Oral health literacy and oral health outcomes in an adult population in Brazil. BMC Public Health. 2017; 18(1): 60.

Dieng SN, Kanouté A, Lombrail P, Diouf M, & Azogui-Lévy S. Characteristics of oral health literacy in Senegal: A cross-sectional study among women in the Department of Pikine. Journal of Public Health in Africa. 2022; 13(2): 2114.

Adil AH, Eusufzai SZ, Kamruddin A, Ahmad WMAW, Jamayet NB, Karobari MI, et al. Assessment of Parents' Oral Health Literacy and Its Association with Caries Experience of Their Preschool Children. Children (Basel). 2020; 7(8): 101.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 1998; 17(14) 1623-34.

Chanatda S, Sutida K, Orawan N, Nuttinan T. Caries experiences and factors related to receiving dental treatment of pregnancy at Sangkhom hospital, Nong Khai Province. Thai Dental Nurse Journal. 2017; 28(1): 60-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)