ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนวิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐนิชา พุมมาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • นลพรรณ สุขรมย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • สาลินี อ่อนสี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • สุทธิดา สุวรรณโชติ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • กรรณิการ์ กุลเกียรติชัย สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

เจตคติ, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, วิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียนวิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) กับแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 134 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า เจตคติต่อการเรียนวิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุข ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข อยู่ในระดับสูง (x̄ = 3.95, S.D. = 0.80) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข อยู่ในระดับสูง (x̄ = 4.38, S.D. = 0.35) และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีพนักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ทันตสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.049 โดยมี ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ 0.171 จากผลการวิจัยจะเห็นได้ว่าด้านเจตคติที่มีค่าน้อยที่สุดคือ คิดว่าวิชาชีพนี้ไม่มั่นคง มีโอกาสตกงานสูง ดังนั้นวิทยาลัยควรมีการประชาสัมพันธ์เพื่อหาแหล่งงาน ให้นักศึกษามั่นใจว่าเมื่อเรียนจบจะมีงานทำแน่นอน

References

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นหรือสภากาชาดไทยมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2539. ราชกิจจานุเบกษา. 113. ตอนพิเศษ 35 ง. หน้า 25-28. 30 ตุลาคม 2539.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ยกระดับสถานีอนามัย สู่ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2552. [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E0%B8%A3/

ศศิธร ไชยประสิทธิ์, ชัยพฤกษ์ ตั้งจิตคงพิทยา. บทบาทหน้าที่ของทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาลชุมชน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่งในจังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ทันตแพทยสาร. 2558; 36(2): 145-58.

คณะอนุกรรมการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพในทศวรรษหน้า ภายใต้คณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ. บทสรุปผู้บริหาร (Executive summary) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2560-2569). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. 2560.

สุนารี ทะน๊ะเป็ก, วศิน พิพัฒนฉัตร. นักวิชาการสาธารณสุขล้นตลาด ตกงานปัญหาและทางออก. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2559; 2(2): 257-68.

สุมรา คงภิรมย์ชื่น, สมชาย หมื่นสายญาติ, ผดุงชัย ภู่พัฒน์. ปัจจัยทีส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่-สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 2558; 14(1): 275-82.

นุชเนตร กาฬสมุทร์, ประสพชัย พสุนนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 2558; 7(2): 27-40.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข : กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์ จำกัด; 2560.

ฝ่ายบริการการศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. รายงานจำนวนนักศึกษา ชั้นปี 1-4 ประจำปีการศึกษา 2565. ชลบุรี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี; 2565.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาล ความมุ่งมั่นกับการพัฒนาตนเอง ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลยะลา. วารสารพยาบาล. 2558; 64(3): 22-28.

จินตนา สิทธิพลวรเวช. เจตคติที่มีต่อวินัยในตนเองด้านวินัยในห้องเรียน ความขยัน อดทนทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ [วิทยานิพนธ์อนุปริญญา]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ; 2561.

อริสา เหล่าวิชยา. เจตคติของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์). 2557; 8(3): 165-72.

กฤศวรรณ ประเสริฐสิทธิ์. การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารการวิจัย กาสะลองคำ. 2555; 6(1): 103-14.

ศิริมา เขมะเพชร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา พยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2559; 8(1): 116-24.

ฉันท์ทิพย์ พลอยสุวรรณ, กนกอร พิเดช, สุวารี โพธิ์ศรี, ฐานิตา พึ่งฉิ่ง. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2563; 13(1): 97-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)