การใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ยุวนุช สัตยสมบูรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จิราพร อ่อนสลุง นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฑาธิป ศีลบุตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การใช้บริการทันตกรรม, ผู้สูงอายุ, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-75 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี จำนวน 175 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคร์สแควร์ (Chi-Square) และวิเคราะห์การถดถอยด้วย Logistic regression ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ไปใช้บริการทันตกรรมในสถานบริการ ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา เพียงร้อยละ 39.40 ผู้สูงอายุที่ใช้บริการทันตกรรมใน 1 ปี ที่ผ่านมา ไปใช้บริการทันตกรรมครั้งล่าสุดของ คือ ถอนฟัน ร้อยละ 71.00 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ ปัจจัยเอื้อ คือ การเดินทางเพื่อไปรับบริการ และปัจจัยด้านสุขภาพ คือ การมีปัญหาจำเป็นที่ต้องพบทันตแพทย์ การมีฟันผุในปัจจุบัน  และการมีปัญหาการเคี้ยวอาหาร

References

Al-Drees AM. Oral and perioral physiologicalchanges with ageing. Pakistan oral & dental journal. 2010; 30(1): 26-30.

สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการดูแลและป้องกันสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุสำหรับทันตบุคลากร. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด; 2564.

Patel J, Wallace J, Doshi M, Gadanya M, Yahya IB, Roseman J, et al. Oral health for healthy ageing. The lancet healthy longevity. 2021; 2(8): e521-e527.

สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสํารวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ จํากัด; 2561.

สํานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานทันตสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุประเทศไทย. นนทบุรี: สํานักทันตสาธารณสุข; 2558.

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. แนวทางการดำเนินงาน ทันตสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 จังหวัดลพบุรี. การประชุมหัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลทุกแห่ง; 13 พฤศจิกายน 2563; ห้องประชุมวิทยากร อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชัยบาดาล. 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. กลุ่มรายงานมาตรฐาน ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพช่องปาก [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://lri.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. รายงานการประชุมทันตบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบบริการทันตกรรม และกำกับ ติดตามผลงานของหน่วยบริการทุกระดับตามระบบข้อมูล 43 แฟ้ม จังหวัดลพบุรี. การประชุมทันตบุคลากรเพื่อพัฒนาระบบบริการทันตกรรม และกำกับ ติดตามผลงานของหน่วยบริการทุกระดับตามระบบข้อมูล 43 แฟ้ม จังหวัดลพบุรี; 9 กรกฎาคม 2563; ห้องประชุมชั้น 5 อาคารใหม่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี 2563.

Andersen RM. Revisiting the Behavioral Model and Access to Medical Care: Does it Matter?. Journal of Health and Social Behavior. 1995; 36(1): 1-10.

กนกอร โพธิ์ศรี, จีระนันท์ วิทยาไพโรจน์. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการมารับบริการทางทันตกรรมของผู้สูงอายุ 60-74 ปี ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 2561; 29(2): 84-97.

อุดมพร ทรัพย์บวร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2561; 37(4): 306-17.

ณรงค์ ใจเที่ยง, นลินนิภา ลีลาศีลธรรม, อรทัย เกตุขาว, เทียนทอง ต๊ะแก้ว, สุรางคนา ไชยรินคำ, สุนันทา ตั้งนิติพงษ์, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านทันตสุขภาพ ในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้นงุ้น อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 2565; 8(1): 79-93.

Mardian A, Darwita RR, Adiatman M. Factors Contributing to Oral Health Service Use by the Elderly in Payakumbuh City, West Sumatra. Journal of International Dental and Medical Research. 2019; 12(3): 1123-130.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. กลุ่มรายงานมาตรฐาน ประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://lri.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

Daniel WW. Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. 9th ed. New York: John Wiley & Sons; 2010.

ปภาดา อธิชยธนาสิน, อรวรรณ นามมนตรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไปใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารทันตาภิบาล. 2566; 34(1): 24-34.

Xu M, Cheng M, Gao X, Wu H, Ding M, Zhang C, et al. Factors associated with oral health service utilization among adults and older adults in China, 2015-2016. Community dentistry and oral epidemiology. 2020; 48(1): 32-41.

ธิดา รัตนวิไลศักดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตศบาลเมืองบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต; 2554.

Emílio P, Suelen G, Marcelo C. Factors associated with the use of dental care by elderly residents of the state of São Paulo, Brazil. Rev Bras Geriatr Gerontol. 2017; 20(6): 785-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)