การวิเคราะห์การปนเปื้อน Clostridium botulinum และสารพิษโบทูลินัมในน้ำปลาไทย
คำสำคัญ:
Thai fish sauce, Clostridium botulinum, botulinum toxinบทคัดย่อ
การที่ประเทศสหรัฐอเมริกาห้ามนำเข้าน้ำปลาจากประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2557 เพราะขาดข้อมูลสารพิษโบทูลินัม ส่งผลกระทบต่อมูลค่าและสัดส่วนการตลาดของน้ำปลาไทยในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก เพื่อสนับสนุนการส่งออก จึงได้ตรวจสอบการปนเปื้อน Clostidium botulinum และสารพิษโบทูลินัม ในน้ำปลา จำนวน 117 ตัวอย่าง แบ่งเป็น 48 และ 69 ตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2559 และ 2560 ตามลำดับ ทำการตรวจหา C. botulinum ด้วยเทคนิคเพาะเชื้อ และตรวจหาสารพิษโบทูลินัม type A, B, E และ F ซึ่งเป็น type ที่ก่อโรคในคน ด้วยเทคนิค ELISA (ชุดน้ำยา Tetracore®, USA) ผลการตรวจไม่พบทั้ง C. botulinum และสารพิษโบทูลินัม ในน้ำปลาทุกตัวอย่าง แต่พบ Clostridium sporogenes, Clostridium bifermentans และ Bacillus cereus group ในน้ำปลาจำนวน 7, 3 และ 3 ตัวอย่าง ตามลำดับ ข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์สารพิษโบทูลินัม และ C. botulinum ในน้ำปลานี้ ได้ถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลสนับสนุนในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อต่อรองการส่งออกน้ำปลาไทยไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยรักษาและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของตลาดน้ำปลาไทยในต่างประเทศ และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าน้ำปลาไทยปลอดจากสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง
References
World Health Organization. Botulism. [Online]. 2018; [cited 2018 Aug 12]; [7 screens]. Available from: URL: https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/botulism.
FDA/CFSAN - BAM. Chapter 17: Clostridium botulinum. [Online]. 2001; [cited 2018 Aug 12]; [7 screens]. Available from: URL: https://www.epa.gov/sites/production/files/2015-07/documents/fda-bam-chap17.pdf.
Chapter 13: Clostridium botulinum toxin formation. In: Barry L, editor. Fish and fishery products hazards and controls guidance. 4th ed. [Online]. 2011; [cited 2018 Aug 10]; [48 screens]. Available from: URL: https://www.fda.gov/downloads/Food/GuidanceRegulation/UCM252416.pdf.
Tanasugarn L. Clostridium botulinum in the Gulf of Thailand. Appl Environ Microbiol 1979; 37(2): 194-7.
Haq I, Sakaguchi G. Prevalence of Clostridium botulinum in fishes from markets in Osaka. Jpn J Med Sci Biol. 1980; 33(1): 1-6.
ปรีชา จึงสมานุกูล, ลดาวัลย์ จึงสมานุกูล. เชื้อโรคทางเดินอาหาร. ใน: มยุรา กุสุมภ์, สุนันท์ จำรูญ, บรรณาธิการ. การตรวจวินิจฉัยโรคอาหารเป็นพิษที่มีสาเหตุจาก Clostridium botulinum ในห้องปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2549. หน้า 7-13.
Centers for Disease Control and Prevention (CDC). National botulism surveillance summary 2016. [online]. 2017; [cited 2018 Aug 10]; [10 screens]. Available from: URL: https://www.cdc.gov/botulism/pdf/Botulism-2016-SUMMARY-508.pdf.
พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์. รายงานเบื้องต้น: การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ Botulism ที่สงสัยปนเปื้อนในหน่อไม้อัดปี๊ป . รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำสัปดาห์ 2541; 29(192): 269-70.
กู้ศักดิ์ บำรุงเสนา. รายงานการสอบสวนโรคเบื้องต้นอาหารเป็นพิษ Botulism จากหน่อไม้ปี๊ป จังหวัดน่าน 2549. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2549; 37(12): 201-3.
ไพรินทร์ บุตรกระจ่าง. สาเหตุการป่วยและการตายหลังบริโภคหน่อไม้อัดปี๊บ ในอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ปี พ.ศ. 2546. [ออนไลน์]. 2546; [สืบค้น 10 ส.ค. 2561]; [13 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://dmsc2.dmsc.moph.go.th/ChiangMai/Clostridium%20%20botulinum.doc.
อุบลรัตน์ นฤพนธ์จิรกุล, อัสดง วรรณจักร. รายงานการสอบสวนโรคเบื้องต้นอาหารเป็นพิษ สงสัยจากโรคโบทูลิสซึม จังหวัดพะเยา, มิถุนายน 2549. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2549; 37(29): 513-6.
MGR Online. ชาวบ้านสามหมอกรับสารพิษ “โบทูลินัม” หวิดดับยกครัว/แพทย์เตือนกินอาหารถูกสุขลักษณะหวั่นเชื้อปนเปื้อน. [ออนไลน์]. 2550; [สืบค้น 10 ส.ค. 2561]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://mgronline.com/local/detail/9500000071129.
นิพนธ์ ชินานนท์เวช, ศิริพร วัชรากร, สุวิมล พลวรรณ, ณรัชต์พงศ์ ตุงคะมณี, นิพนธ์ สุ่มติ๊บ, ชัยมงคล คัมภิรานนท์. การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษโบทูลิซึมจากหมูยอ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เดือนพฤษภาคม 2553. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2554; 42(1): 1-6.
หิรัญวุฒิ แพร่คุณธรรม, มานิตา พรรณวดี, สุชาดา ทรัพย์สุนทร, คมกริช ไกรเกริกเกียรติ, นาฎสุดา ตันวัฒนกุล, เฉลิมพล เจนวิทยา และคณะ. การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษบอทูลิซึม ในหมู่บ้านพะโข่โหล่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เดือนธันวาคม 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555; 43(3): 33-40.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. การปนเปื้อนของแบคทีเรีย Clostridium botulinum ในผลิตภัณฑ์นมจากประเทศนิวซีแลนด์. [ออนไลน์].2556; [สืบค้น 10 ส.ค. 2561]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://e-library.dmsc.moph.go.th/ebooks/files/showimgpic%20(1).pdf.
กรรณิการ์ หมอนพังเทียม, พรเอื้อ บุญยไพศาลเจริญ, หัทยา กาญจนสมบัติ, สุกัญญา อภัย, วีระพล ความหมั่น, วัชธรี ทองอ่อน, และคณะ. การระบาดของโรคโบทูลิซึมสาเหตุจากหน่อไม้ต้มบรรจุถุงพลาสติก อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เดือนเมษายน 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2558; 45(51): 801-9.
อรวรรณ คงพันธ์ุ. การผลิตน้ำปลาด้วยวิธีการหมักแบบธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2553.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 203 (พ.ศ. 2543) เรื่อง น้ำปลา. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 6 ง. (วันที่ 24 มกราคม 2544).
กนกพรรณ ศรีมโนภาษ, เรณุกา นิธิบุณยบดี, วชิร คร้ามวอน. ศึกษาการปนเปื้อนของคลอสตริเดียม โบทูลินัม และจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในกระบวนการผลิตน้ำปลา. [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 10 ส.ค. 2561]; [26 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://elib.fisheries.go.th/LIBCAB/DRAWERS/ABS/DATA0001/00001429.PDF.
James R, Dindal A, Willenberg Z, Riggs K. Environmental technology verification report: Tetracore, Inc. anthrax, botulinum toxin, and ricin enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA). [Online]. 2004; [cited 2018 Aug 10]; [41 screens]. Available from: URL: https://archive.epa.gov/nrmrl/archiveetv/web/pdf/01_vr_elisa.pdf.
สุมณฑา วัฒนสินธุ์. จุลชีววิทยาทางอาหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2545. หน้า 154-156.
Dennis L, Amy EB, Karen C. Clostridium. In: James HJ, Michael AP, editors. Manual of clinical microbiology Volume 1. 11th ed. Washington, DC: ASM Press; 2015. p.940-966.