ประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดยุงลายบ้านโดยการพ่นฝอยละเอียดแบบกึ่งภาคสนาม

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ เสวะนา กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • บุษราคัม สินาคม กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • บุญเสริม อ่วมอ่อง กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

สารเคมีกำจัดแมลง, สารไพรีทรอยด์สังเคราะห์, การพ่นฝอยละเอียด, ยุงลายบ้าน

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดยุงลายบ้านโดยการพ่นฝอยละเอียดแบบกึ่งภาคสนาม ทดสอบโดยวิธี Cage Bio-assay test ใช้ยุงลายบ้าน Aedes aegypti สายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ (LS) และ 3 สายพันธุ์พื้นที่จากจังหวัดเชียงใหม่ (CMS) ตาก (TKS) และระยอง (RYS) โดยใช้ยุงเลี้ยงในห้องปฏิบัติการรุ่นที่ 3 ทดสอบกับสารเคมี 4 สูตร ได้แก่ สูตรผสม-1 [(deltamethrin, s-bioallethrin, piperonyl butoxide (PBO)], สูตรผสม-2 (lambda-cyhalothrin, tetramethrin, PBO), สูตรผสม-3 (zeta cypermethrin, tetramethrin, PBO) และสูตรเดี่ยว (cyfluthrin) พบว่าเมื่อใช้อัตราการผสมที่ระบุไว้ที่ฉลากและอัตราการผสมสูงสุดตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) สูตรผสม-3 มีประสิทธิภาพดีที่สุดสามารถฆ่ายุงลายได้มากกว่าร้อยละ 90 ทั้ง 4 สายพันธุ์ ในขณะที่สูตรผสม-1 และสูตรผสม-2 เมื่อใช้อัตราการผสมที่ระบุไว้ที่ฉลากมีประสิทธิภาพฆ่ายุงลายได้มากกว่าร้อยละ 90 ได้ 3 สายพันธุ์ (LS, CMS, TKS) ส่วนสารเคมีสูตรเดี่ยว (cyfluthrin) เมื่อใช้อัตราการผสมสูงสุดตามคำแนะนำของ WHO มีประสิทธิภาพฆ่ายุงลายได้มากกว่าร้อยละ 90 ได้ 3 สายพันธุ์ (LS, CMS, TKS) แต่เมื่อใช้อัตราการผสมที่ระบุไว้ที่ฉลากสามารถฆ่ายุงลายเฉพาะสายพันธุ์ LS ได้มากกว่าร้อยละ 90 แต่มีประสิทธิภาพฆ่ายุงลายสายพันธุ์ในพื้นที่ทั้ง 3 สายพันธุ์ ได้น้อยกว่าร้อยละ 90 ดังนั้นควรใช้สารเคมีสูตรผสมซึ่งมีประสิทธิภาพในการฆ่ายุงลายได้ดีกว่าสารเคมีสูตรเดี่ยว

References

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้เครื่องพ่นสำหรับผู้ปฏิบัติการเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

WHO. Chemical methods for the control of vectors and pests of public health importance. Geneva: World Health Organization; 1997.

นวลอนงค์ จิระกาญจนากิจ. ความสัมพันธ์ของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย. นครปฐม: สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2559.

Thanispong K, Sathantriphop S, Chareonviriyaphap T. Insecticide resistance of Aedes aegypti and Culex quinquefasciatus in Thailand. J Pestic Sci 2008; 33(4): 351-6.

Chareonviriyaphap T, Bangs MJ, Suwonkerd W, Kongmee M, Corbel V, Ngoen-Klan R. Review of insecticide resistance and behavioral avoidance of vectors of human diseases in Thailand. Parasit Vectors 2013; 6: 280. (28 pages).

Amelia-Yap ZH, Chen CD, Sofian-Azirun M, Low VL. Pyrethroid resistance in the dengue vector Aedes aegypti in Southeast Asia: present situation and prospects for management. Parasit Vectors 2018; 11: 322. (17 pages).

WHO. Space spray application of insecticides for vector and public health pest control: a practitioner’s guide. Geneva: World Health Organization; 2003.

WHO. Guidelines for efficacy testing of insecticides for indoor and outdoor ground-applied space spray applications. Geneva: World Health Organization; 2009.

จินตนา ยาโนละ. กลไกการดื้อต่อสารเคมีฆ่าแมลงใน Culex quinquefasciatus ยุงรำคาญพาหะนำโรคพยาธิฟิลาเรีย. เชียงใหม่: ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.

สิริภัค สุระพร. กลไกที่แมลงต้านทานต่อสารฆ่าแมลง. วารสารเกษตรพระวรุณ 2562; 16(1): 34-48.

วิรัช วงศ์หิรัญรัชต์, ชูศักดิ์ โมลิโต, โสภาวดี มูลเมฆ. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการพ่นหมอกควันพ่นฝอยละออง และพ่นฝอยละอองติดรถยนต์ ในการควบคุมยุงลายบ้าน Aedes aegypti Linnaeus (1762) ในเขตเทศบาลนครสงขลา. สงขลา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา; 2552.

Chuaycharoensuk T, Juntarajumnong W, Boonyuan W, Bangs MJ, Akratanakul P, Thammapalo S, et al. Frequency of pyrethroid resistance in Aedes aegypti and Aedes albopictus (Diptera: Culicidae) in Thailand. J Vector Ecol 2011; 36(1): 204-12.

. Kongmee M, Thanispong K, Sathantriphop S, Sukkanon C, Bangs MJ, Chareonviriyaphap T. Enhanced mortality in deltamethrin-resistant Aedes Aegypti in Thailand using a piperonyl butoxide synergist. Acta Trop 2019; 189: 76-83.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ปลอดยุง ปลอดภัย ถ้าใช้ยาจุดกันยุงถูกวิธี. [ออนไลน์]. 2552; [สืบค้น 20 พ.ย. 2563]; [4 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://oryor.com/อย/detail/media_printing/32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)