การทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์สีอีริโทรซินในอาหารโดยเทคนิค HPLC
คำสำคัญ:
สีอีริโทรซิน, อาหาร, เทคนิค HPLCบทคัดย่อ
สีอีริโทรซินอยู่ในกลุ่มสีอินทรีย์สังเคราะห์ชนิดหนึ่ง เป็นสีที่มีความไวต่อแสงและความร้อน จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 418 พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) การศึกษานี้ได้พัฒนาและปรับปรุงวิธีวิเคราะห์ปริมาณสีอีริโทรซินในอาหารซึ่งเดิมใช้การสกัดด้วย 1-butanol แล้ววัดปริมาณด้วยเครื่อง spectrophotometer ซึ่งเหมาะสำหรับตัวอย่างอาหารที่ละลายนํ้าเท่านั้น โดยเปลี่ยนมาเป็นการสกัดตัวอย่างแต่ละกลุ่มอาหาร (อาหารที่ละลายนํ้า, อาหารไม่ละลายนํ้า และอาหารประเภทที่มีไขมัน) แล้วใช้เทคนิค HPLC ในการตรวจวัดปริมาณ จากการทดสอบพบว่าวิธีมีความจำเพาะเจาะจง ถูกต้อง แม่นยำ และความเป็นเส้นตรงอยู่ในช่วง 0.10 ถึง 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) มากกว่า 0.9995 แต่ละกลุ่มอาหารมีพารามิเตอร์ต่างๆ ดังนี้ ขีดจำกัดการตรวจมีค่า 0.06, 0.10 และ 0.10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ขีดจำกัดการวิเคราะห์ปริมาณมีค่า 0.20, 0.20 และ 0.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ความเที่ยงตรงแสดงด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSDr) มีค่าไม่เกิน 1.5%, 4.5% และ 2.9% ตามลำดับ ความแม่นยำแสดงด้วยค่าเฉลี่ยของ %recovery อยู่ในช่วงร้อยละ 96.1 - 99.4, 92.1 - 95.1 และ 83.3 - 96.0 ตามลำดับ วิธีวิเคราะห์นี้สามารถใช้วิเคราะห์ปริมาณสีอีริโทรซิน ครอบคลุมในทุกกลุ่มอาหารโดยมีความจำเพาะเจาะจง ถูกต้อง และแม่นยำ
References
ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. High performance liquid chromatography, HPLC. [ออนไลน์]. [สืบค้น 31 ส.ค. 2562]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : http://www.env.eng.chula.ac.th/?q=content/high-performance-liquid-chromatography-hplc.
Wikipedia, the free encyclopedia. Erythrosine. [online]. [cited 2019 Aug 31]; [4 screens]. Available from : URL : https://en.wikipedia.org/wiki/Erythrosine.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 418 (พ.ศ. 2563) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 237 ง (วันที่ 9 ตุลาคม 2563). หน้า 18.
ทัศนีย์ จุฬามรกต. วิธีวิเคราะห์ปริมาณสีเออริโธรซีนอย่างง่ายในขนมหวาน. ว กรมวิทย พ 2534; 33(2) : 65-9.
Lehmann G, Collet P, Hahn HG, Asworth MRF. Rapid method for detection and identification of synthetic water-soluble coloring matters in foods and drugs. J Assoc Off Anal Chem 1970; 53(6) : 1182-9.
Lawrence JF, Lancaster FE, Conacher HB. Separation and detection of synthetic food colors by ion-pair high-performance liquid chromatography. J Chromatogr 1981; 210(1) : 168-73.
Manuals of food quality control 7. Food analysis : general techniques, additives, contaminants and composition. Rome, Italy : Food and Agriculture Organization (FAO); 1986. p. 76-79, 91-92.
Department of Medical Sciences and National Bureau of Agriculture Commodity and Food Standards. Compendium of methods for food analysis. Bangkok, Thailand : DMSc. & AFCS; 2003. p.1-55.
Magnusson B, Örnemark U, editors. Eurachem guide : the fitness for purpose of analytical methods - a laboratory guide to method validation and related topics. 2nd ed. Torino : Eurachem; 2014.
Ellison SLR, Williams A. EURACHEM/CITAC guide : quantifying uncertainty in analytical measurement. 3rd ed. Teddington, UK : EURACHEM/CITAC; 2012.
สุวรรณา จารุนุช และคณะ. แนวปฏิบัติการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัดทางเคมี. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
ทิพวรรณ นิ่งน้อย. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.