พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออก: วิเคราะห์ผลการสำรวจกับดักไข่ยุงลายและข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของประเทศไทยด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ผู้แต่ง

  • จิตติ จันทร์แสง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จริยา ครุธบุตร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ธัณญภักษณ์ มากรื่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วรรณิศา สืบสอาด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • เอกรัฐ เด่นชลชัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุวรรณภา นิลพนมชัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
  • อุรุญากร จันทร์แสง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, ยุงลาย, ประชากร, กับดักไข่ยุงลาย, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

       โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุข โดยมีการควบคุมยุงลายเป็นมาตรการที่สำคัญ ข้อมูลประชากรและการแพร่กระจายของยุงลายเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับควบคุมโรค มีการใช้วิธีการสำรวจลูกน้ำยุงลายจากการนับจำนวนภาชนะขังน้ำที่พบหรือไม่พบลูกน้ำแล้วคำนวณค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อวางแผนควบคุมโรค แต่เนื่องด้วยค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายมีความสัมพันธ์ต่ำกับโรคไข้เลือดออก ในขณะที่ระยะไข่มีความสัมพันธ์กับระยะตัวเต็มวัยซึ่งเป็นระยะในการแพร่เชื้อไวรัส งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลประชากรยุงลายด้วยกับดักไข่ยุงลายระหว่างช่วงเดือนก่อนฤดูการระบาดของโรค เก็บข้อมูลเป็นเวลา 7 ปี ในแต่ละปีสำรวจโดยใช้กับดักไข่ยุงลายจำนวน 5,120 อัน วางในพื้นที่ 128 อำเภอ ของ 32 จังหวัด ใน 4 ภาค และนำข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของแต่ละจังหวัดมาวิเคราะห์ด้วยระบบสาร-สนเทศภูมิศาสตร์และสถิติ พบว่าประชากรของยุงลายจากค่าเฉลี่ยไข่ต่อกับดักไข่ยุงลาย และร้อยละกับดักที่พบไข่ยุงลายมีค่าสูงสุดที่ภาคใต้ และรองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันตามแต่ละจังหวัด ประชากรยุงลายและผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการประมาณค่าเชิงพื้นที่ประชากรยุงลายของทั้งประเทศด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิธี Ordinary Kriging โดยใช้ข้อมูลทุกตำแหน่งที่สำรวจ ทำให้สามารถประมาณค่าประชากรยุงลายทุกพื้นที่ในทุกจังหวัดของประเทศ จากผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการหาพื้นที่เสี่ยงและวางแผนการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

World Health Organization Regional Office for South East Asia (SEARO). Situation update of dengue in the SEA Region, 2010. New Delhi, India: World Health Organization Regional Office for South-East Asia (SEARO); 2010.

Shepard DS, Undurraga EA, Halasa YA. Economic and disease burden of dengue in Southeast Asia. PloS Negl Trop Dis 2013; 7(2): e2055. (12 pages).

Limkittikul K, Brett J, L’Azou M. Epidemiological trends of dengue disease in Thailand (2000-2011): a systematic literature review. PloS Negl Trop Dis 2014; 8(11): e3241. (11 pages).

จิตติ จันทร์แสง. การสำรวจยุงลายพาหะโรคไข้เลือดออกและการวิเคราะห์ด้านสถิติ. ใน: อุษาวดี ถาวระ, และคณะบรรณาธิการ. ชีววิทยา นิเวศวิทยา และการควบคุมยุงในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2553. หน้า 44-64.

จิตติ จันทร์แสง, อุรุญากร จันทร์แสง, อุษาวดี ถาวระ, ประคอง พันธ์อุไร. การแพร่กระจายของยุงลายในชนบทช่วง พ.ศ. 2532-2534. ว กรมวิทย พ 2536; 35(2): 91-106.

Hasnan A, Dom NC, Rosly H, Tiong CS. Quantifying the distribution and abundance of Aedes mosquitoes in dengue risk areas in Shah Alam, Selangor. Social Behav Sci 2016; 234: 154-63.

Dibo MR, Chierotti AP, Ferrari MS, Mendonca AL, Chiaravalloti Neto F. Study of the relationship between Aedes (Stegomyia) aegypti egg and adult densities, dengue fever and climate in Mirassol, state of São Paulo, Brazil. Memorias do Instituto Oswaldo Cruz 2008; 103(6): 554-60.

จิตติ จันทร์แสง. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และการสำรวจข้อมูลระยะไกลเพื่อการประเมินความเสี่ยงต่อไข้เลือดออกในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์]. ภาควิชาชีววิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.

Chansang C, Kittayapong P. Application of mosquito sampling count and geospatial methods to improve dengue vector surveillance. Am J Trop Med Hyg 2007; 77(5): 897-902.

จิตติ จันทร์แสง, อุษาวดี ถาวระ, อุรุญากร จันทร์แสง, อภิวัฏ ธวัชสิน, สุพล เป้าศรีวงษ์, ประคอง พันธ์อุไร. การสำรวจความชุกชุมของยุงลายแบบเลือกตัวอย่างเชิงสุ่มเพื่อการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2540; 6(1): 82-90.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. จำนวนผู้ป่วย-เสียชีวิตรายเดือน แยกรายจังหวัด, จำนวนและอัตราป่วย-ตายต่อแสนประชากร แยกรายจังหวัด. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 15 ม.ค. 2564]; [14 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=262766.

จิตติ จันทร์แสง. การแปลงข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ทางสถิติด้านชีววิทยา. ว กรมวิทย พ 2533; 32(1): 47-52.

Norusis, MJ. SPSS/PC+. Chicago: SPSS Inc.; 1988. p. 199-244.

จิตติ จันทร์แสง และคณะ. เอกสารการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 22 เรื่อง แผนที่ GIS เพื่อการประมาณค่าเชิงพื้นที่ของประเทศ จากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์: กรณีศึกษาการตรวจไวรัสเดงกีและประชากรยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก. วันที่ 30 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2557. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

Ai-leen GT, Song RJ. The use of GIS in ovitrap monitoring for dengue control in Singapore. Dengue Bull 2000; 24: 110-6.

Focks DA. A review of entomological sampling methods and indicator for dengue vectors. Geneva, Switzerland: World Health Organization; 2003.

Hermann LL, Gupta SB, Manoff SB, Kalayanarooj S, Gibbons RV, Coller BAG. Advances in the understanding, management, and prevention of dengue. J Clin Virol 2015; 64: 153-9.

Focks DA, Brenner RJ, Chadee DD, Trosper JH. The use of spatial analysis in the control and risk assessment of vector-borne diseases. American Entomol 1999; 45(3): 173-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-03-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)