การศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธ์ุของสารสกัดจากช่อดอกกัญชาพันธ์ุไทย
คำสำคัญ:
สารสกัดกัญชา, ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์, กัญชาพันธ์ุไทยบทคัดย่อ
กัญชา (Cannabis sativa L.) เป็นพืชเสพติดที่มีการอนุญาตให้ใช้ทางการแพทย์ และได้รับความสนใจจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีการดำเนินการศึกษาวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ และมีการนำมารักษาในผู้ป่วยอย่างกว้างขวาง การนำกัญชามาใช้ในการรักษาควรต้องคำนึงถึงขนาดและปริมาณของสารออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมุนไพร ซึ่งต้องมีคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อการรักษาโรค ตลอดจนการประเมินความปลอดภัยของสมุนไพรชนิดนั้น ปัจจุบันประเทศไทยได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ยกเว้นช่อดอกซึ่งยังเป็นยาเสพติด ทำให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรกัญชาออกมาใช้และบริโภคกันอย่างแพร่หลาย แต่ข้อมูลด้านพิษวิทยาและความปลอดภัยมีอยู่น้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธ์ิก่อกลายพันธ์ุของสารสกัดช่อดอกกัญชาพันธุ์ไทย 3 พันธุ์ ได้แก่ PTC0601, PTC0602 และ PTC0729 ที่สกัดด้วย Supercritical Fluid Extraction อ้างอิงจาก OECD test guideline 471 ใช้เชื้อ Salmonella typhimurium 4 สายพันธ์ุ (TA98, TA100, TA1535, TA1537) และ Escherichia coli WP2 ที่ขนาดทดสอบ 5 ระดับ (50, 150, 500, 1,500 และ 5,000 ไมโครกรัม/เพลท) ในระบบที่มีและไม่มีเอนไซม์กระตุ้น ผลการทดลองพบว่าสารสกัดช่อดอกกัญชาไทยทั้ง 3 พันธุ์ทุกขนาดทดสอบทุกสายพันธุ์ ทั้งในระบบที่มีและไม่มีเอนไซม์กระตุ้น ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ อย่างไรก็ตามควรมีการทดสอบยืนยันด้านความปลอดภัยในสัตว์ทดลองหรือกลไกเชิงลึกเพิ่มเติม เพ่อื ให้เกิดความมั่นใจในการนำมาบริโภคหรือทำผลิตภัณฑ์ต่อไป
References
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พ.ศ. 2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ ๒๙๐ ง (วันที่ 14 ธันวาคม 2563). หน้า 33.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 (พ.ศ. 2564) เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 45 ง (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564). หน้า 32.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. “กัญชา” จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจไทย ได้หรือไม่? [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 14 ม.ค. 2563]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/FB-Cannabis-14-01-20.aspx.
Small E, Cronquist A. A practical and natural taxonomy for Cannabis. Taxon 1976; 25(4) : 405-35.
ราชบัณฑิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน; 2547.
Anderson LC. Leaf variation among Cannabis species from a controlled garden. Bot Mus Leafl 1980; 28(1) : 61-9.
Hanus LO, Meyer SM, Munoz E, Taglialatela-Scafati O, Appendino G. Phytocannabinoids : a unified critical inventory. Nat Prod Rep 2016; 33(12) : 1357-92.
Hill AJ, Williams CM, Whalley BJ, Stephens GJ. Phytocannabinoids as novel therapeutic agents in CNS disorders. Pharmacol Ther 2012; 133(1) : 79-97.
Daris B, Tancer Verboten M, Knez Z, Ferk P. Cannabinoids in cancer treatment : therapeutic potential and legislation. Bosn J Basic Med Sci 2019; 19(1) : 14-23.
Szafl arski JP, Bebin EM, Cutter G, DeWolfe J, Dure LS, Gaston TE, et al. Cannabidiol improves frequency and severity of seizures and reduces adverse events in an open-label add-on prospective study. Epilepsy Behav 2018; 87 : 131-6.
Vuckovic S, Srebro D, Vujovic KS, Vucetic C, Prostran M. Cannabinoids and pain : new insights from old molecules. Front Pharmacol 2018; 9 : 1259. (19 pages).
National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine; Health and Medicine Division; Board on Population Health and Public Health Practice; Committee on the Health Effects of Marijuana : An Evidence Review and Research Agenda. The health effects of cannabis and cannabinoids : the current state of evidence and recommendations for research. Washington, DC : National Academies Press; 2017.
OECD Guideline for the Testing of Chemicals. Test No. 471 : bacterial reverse mutation test. [online]. 2020; [cited 2020 Jun 28]; [11 screens]. Available from : URL : https://www.oecdilibrary.org/environment/test-no-471-bacterial-reverse-mutation-test_9789264071247-en.
Marx TK, Reddeman R, Clewell AE, Endres JR, Béres E, Vértesi A, et al. An assessment of the genotoxicity and subchronic toxicity of a supercritical fluid extract of the aerial parts of hemp. J Toxicol 2018; 2018 : 8143582. (26 pages).
Dziwenka M, Coppock R, Alexander M, Palumbo E, Ramirez C, Lermer S. Safety assessment of a hemp extract using genotoxicity and oral repeat-dose toxicity studies in Sprague-Dawley rats. Toxicol Rep 2020; 7 : 376-85.
Jeun JA, Cho HJ, Jun HJ, Lee JH, Jia YY, Cho KS, et al. Mutagenic and antimutagenic effects of hemp seed oil evaluated by Ames Salmonella testing. Korean J Food Sci Tech 2011; 43(3) : 396-400.
พราว ศุภจริยาวัตร. การศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดกัญชาที่สกัดด้วยวิธีของไหลวิกฤตยิ่งยวด. ใน : เอกสารการประชุมวิชาการพิษวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 10. วันที่ 28-29 ตุลาคม 2563. กรุงเทพฯ : สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย; 2563. หน้า 41-53.