การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดช่อดอกกัญชาพันธ์ุไทยต่อเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง

ผู้แต่ง

  • ศรายุธ ระดาพงษ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พราว ศุภจริยาวัตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ตีญานี สาหัด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณฐภัทร หาญกิจ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กัญชริญา ภารเขจร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ปฏิภาณ พริ้มพราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พิเชฐ บัญญัติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พรชัย สินเจริญโภไคย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • Kenneth J Ritchie มหาวิทยาลัย Liverpool John Moores, ลิเวอร์พูล, สหราชอาณาจักร

คำสำคัญ:

กัญชาพันธุ์ไทย, พิษต่อเซลล์, เซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยง, Δ9-tetrahydrocannabinol (THC), Cannabidiol (CBD)

บทคัดย่อ

         กัญชา (Cannabis sativa L.) จัดเป็นพืชเสพติดท่ีมีหลายสายพันธุ์ (strains) ปัจจุบันในประเทศไทยได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ของกัญชาในทางการแพทย์และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สารสําคัญหลักที่พบมากในกัญชาเป็นแคนนาบินอยด์ที่พบมีสองชนิด คือ ∆9-tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD) ซึ่งรายงานฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยงของสารสกัดช่อดอกเพศเมียกัญชาพันธุ์ไทย 3 พันธุ์ ได้แก่ PTC0601 (THC และ CBD ใกล้เคียงกัน), PTC0602 (THC สูง) และ PTC0729 (CBD สูง) สกัดด้วยวิธีของไหลวิกฤตยิ่งยวด (Supercritical Fluid Extraction) วิเคราะห์ปริมาณด้วยวิธี HPLC และ ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงด้วยวิธี MTT assay พบว่าสารสกัดกัญชาท้ัง 3 ชนิด แสดงฤทธิ์ยับย้ังเซลล์มะเร็ง ทั้ง 7 ชนิด โดย PTC0729 ซึ่งมีสัดส่วน THC : CBD เท่ากับ 1 : 6 มีความจําเพาะแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญและเป็นพิษสูงสุด ต่อเซลล์มะเร็งเต้านม (MCF-7) เซลล์มะเร็งไต (A-498) และเซลล์มะเร็งตับ (HepG2) ให้ค่า IC50 เท่ากับ 2.81 ± 0.85, 5.48 ± 0.27 และ 7.65 ± 0.49 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลําดับ ส่วน PTC0602 ซึ่งมีสัดส่วน THC : CBD เท่ากับ 10 : 1 แสดงความเป็นพิษจําเพาะต่อเซลล์มะเร็งปอด (A-549) เซลล์มะเร็งลําไส้ (Caco-2) เซลล์มะเร็งสมอง (A-172) และมะเร็ง ตับอ่อน (PANC-1) ให้ค่า IC50 เท่ากับ 10.92 ± 1.05, 14.65 ± 2.05, 15.11 ± 2.52 และ 19.19 ± 1.79 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลําดับ ในขณะที่ PTC0601 มีสัดส่วน THC : CBD เท่ากับ 2 : 1 มีพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยงแต่ไม่จําเพาะกับเซลล์ใด จะเห็นได้ว่าสารสกัดกัญชาพันธุ์ไทยสามารถยับย้ังเซลล์มะเร็งเพาะเลี้ยงได้และอาจพัฒนาไปเป็นยาต้านมะเร็งหรือยาร่วมกับยาต้านมะเร็งได้

References

National Cancer Institute. Cancer statistics. [online]. 2020; [cited 2021 Jun 30]; [4 screens]. Available from : URL : https://www.cancer.gov/about-cancer/understanding/statistics.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 19 ก (วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562). หน้า 1.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พ.ศ. 2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 290 ง (วันที่ 14 ธันวาคม 2563). หน้า 33.

Bangkok Post. Thai cannabis market worth B21bn by 2024. [online]. 2019; [cited 2021 Jun 30]; [2 screens]. Available from : URL : https://www.bangkokpost.com/business/1674900/thaicannabis-market-worth-b21bn-by-2024.

Small E, Cronquist A. A practical and natural taxonomy for Cannabis. Taxon 1976; 25(4) : 405-35.

Piomelli D, Russo EB. The Cannabis sativa versus Cannabis indica debate : an interview with Ethan Russo, MD. Cannabis Cannabinoid Res 2016; 1(1) : 44-6.

Hanus LO, Meyer SM, Munoz E, Taglialatela-Scafati O, Appendino G. Phytocannabinoids : a unified critical inventory. Nat Prod Rep 2016; 33(12) : 1357-92.

Moreau M, Ibeh U, Decosmo K, Bih N, Yasmin-Karim S, Toyang N, et al. Flavonoid derivative of Cannabis demonstrates therapeutic potential in preclinical models of metastatic pancreatic cancer. Front Oncol 2019; 9 : 660. (9 pages).

Bonini SA, Premoli M, Tambaro S, Kumar A, Maccarinelli G, Memo M, et al. Cannabis sativa : a comprehensive ethnopharmacological review of a medicinal plant with a long history. J Ethnopharmacol 2018; 227 : 300-15.

ศรายุธ ระดาพงษ์, พราว ศุภจริยาวัตร, เมธิน ผดุงกิจ. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของกัญชา. ว กรมวิทย พ 2564; 63(1) : 219-32.

Daris B, Verboten MT, Knez Z, Ferk P. Cannabinoids in cancer treatment : therapeutic potential and legislation. Bosn J Basic Med Sci 2019; 19(1) : 14-23.

Zhelyazkova M, Kirilov B, Momekov G. The pharmacological basis for application of cannabidiol in cancer chemotherapy. Pharmacia 2020; 67(4) : 239-52.

Chakravarti B, Ravi J, Ganju RK. Cannabinoids as therapeutic agents in cancer : current status and future implications. Oncotarget 2014; 5(15) : 5852-72.

Velasco G, Sánchez C, Guzmán M. Endocannabinoids and cancer. Handb Exp Pharmacol 2015; 231 : 449-72.

American Cancer Society. Marijuana and cancer. [online]. 2020; [cited 2021 Jun 30]; [9 screens]. Available from : URL : https://www.cancer.org/treatment/treatments-and-side-effects/complementary-and-alternative-medicine/marijuana-and-cancer.html.

ส. สุทธิพันธ์. กัญชา สรรพยาแห่งความหวัง. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 5 พ.ย. 2563]; [23 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.satapornbooks.co.th/imgadmins/product_pdf/201910_01_Kaancha.pdf.

กัญชงกัญชา.COM. รอขึ้นทะเบียน “กัญชาพันธุ์ไทย” อีก 4 พันธุ์ พร้อมใช้ประโยชน์ทางการแพทย์. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 30 มิ.ย. 2564]; [4 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.xn--12carlcod7zem.com/31/599/.

Caff arel MM, Andradas C, Mira E, Pérez-Gómez E, Cerutti C, Moreno-Bueno G, et al. Cannabinoids reduce ErbB2-driven breast cancer progression through Akt inhibition. Mol Cancer 2010; 9:196. (11 pages).

Lu HC, Mackie K. An introduction to the endogenous cannabinoid system. Biol Psychiatry 2016; 79(7) : 516-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)