การพัฒนาตัวอย่างทดสอบความชำนาญการวิเคราะห์สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และโลหะหนักในพืชกัญชา

ผู้แต่ง

  • วิชาดา จงมีวาสนา สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พนาวัลย์ กลึงกลางดอน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาตร์การแพทย์
  • วีรวุฒิ วิทยานันท์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุพัฒน์ แสงสวย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ธรณิศวร์ ไชยมงคล สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กรรภิรมย์ เลิศบำรุงชัย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ตัวอย่างทดสอบความชำนาญ, พืชกัญชา, สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้าง, โลหะปนเปื้อน

บทคัดย่อ

         สืบเนื่องจากนโยบายกัญชาทางการแพทย์ ปี พ.ศ. 2562 ทำให้เกิดห่วงโซ่คุณค่าในการพัฒนาการปลูกการจำหน่ายและการผลิตผลิตภัณฑ์กัญชาอย่างรวดเร็ว สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างและโลหะปนเปื้อนเป็นรายการสำคัญที่ใช้ในการคัดกรองความปลอดภัยของวัตถุดิบพืชกัญชาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินโครงการบูรณาการสร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการ และติดตามส่งเสริมห้องปฏิบัติการเครือข่ายให้มีความสามารถในการตรวจวิเคราะห์ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวอย่างทดสอบความชำนาญพืชกัญชา โดยใช้วัตถุดิบพืชกัญชาที่เป็นของกลางจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่พบสารตกค้างและสารปนเปื้อน โดยนำมาเตรียม แบ่งบรรจุ และทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกันของสารคลอร์ไพรีฟอส และไซเปอร์เมทริน ด้วยเครื่อง GC-ECD/FPD มีค่าเฉลี่ยความเข้มข้น 85.6 ± 3.5 และ 32,520 ± 1,625 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนแคดเมียม มีความเข้มข้น 344 ± 18 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง ICP-MS จากนั้นทดสอบความคงตัวในอุณหภูมิที่เลียนแบบสภาวะขนส่ง โดยเก็บตัวอย่างในพื้นที่ที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิเป็นเวลา 3 วัน แล้วนำมาเก็บที่อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าปริมาณสารคลอร์ไพรีฟอส ไซเปอร์เมทริน และแคดเมียม มีความเข้มข้นที่ระดับ 89.6 ± 3.4, 33,753 ± 2,619 และ 321 ± 11 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งผลการวิเคราะห์ทางสถิติมีความคงตัวอยู่ในเกณฑ์ยอมรับ ตัวอย่างพืชกัญชาที่เตรียมขึ้นนี้สามารถนำไปใช้เป็นตัวอย่างทดสอบความชำนาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นไปตามเกณฑ์ยอมรับ ISO 13528: 2015 และใช้ในการประเมินความสามารถห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและโลหะหนักได้อย่างมีคุณภาพ

References

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 19 ก (วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562). หน้า 1.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พ.ศ. 2563). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 290 ง (วันที่ 14 ธันวาคม 2563). หน้า 33.

Department of Medical Sciences. Thai herbal pharmacopoeia 2017. Nonthaburi, Thailand : Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health; 2017.

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. รายงานประจำปี 2563. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 10 ก.ค. 2564]; [97 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL : http : //http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/wp-content/uploads/2021/09/Food-safety-report-63.pdf

ISO 13528 : 2015. Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparison. Geneva, Switzerland : International Organization for Standardization; 2015.

ISO/IEC 17043 : 2010. Conformity assessment – general requirements for proficiency testing. Geneva, Switzerland : International Organization for Standardization; 2010.

AOAC Official Method 2007.01 : Pesticide residues in foods by acetonitrile extraction and partitioning with magnesium sulfate. In : Official methods of analysis. 19th ed. Rockville, Maryland : AOAC International; 2012.

รัติยากร ศรีโคตร, วิชาดา จงมีวาสนา. วิธีลดปริมาณสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้. ว กรมวิทย พ 2564; 63(1) : 38-50.

Briscoe. M. Determination of heavy metals in food by inductively coupled plasma–mass spectrometry : First Action 2015.01. J AOAC Int 2015; 98(4) : 1113-20.

AOAC Official Method 999.10 : Lead, cadmium, zinc, copper, iron in foods. Atomic absorption spectrophotometry after microwave digestion. In : Official methods of analysis. 21th ed. Rockville, Maryland : AOAC International; 2019.

AOAC Official Method 997.15 : Lead in sugars and syrups. Graphite furnace atomic absorption method. In : Official method of analysis. 21th ed. Rockville, Maryland : AOAC International; 2019.

World Health Organization. Pesticide residues in food 2004 : joint meeting of the FAO panel of experts on pesticide residues in food and the environment and the WHO core assessment group. 20-29 September 2004. Rome, Italy : Food and Agriculture Organization of the United Nations; 2004. p. 44-48.

World Health Organization. Pesticide residues in food 2006 : joint FAO/WHO meeting on pesticide residue. Rome, Italy : Food and Agriculture Organization of the United Nations; 2006. p. 95-101.

World Health Organization. Preventing disease through health environments. Exposure to cadmium : a major public health concern. Geneva, Switzerland : WHO; 2010.

ISO/IEC 17025 : 2017. General requirement for the competence of testing and calibration laboratories. Geneva, Switzerland : International Organization for Standardization; 2017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)