การตรวจค้นหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยาในโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2561

ผู้แต่ง

  • ธานี วงษ์ชัย โรงพยาบาลแม่สอด ตาก
  • จณิศรา ฤดีอเนกสิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วิพัฒน์ กล้ายุทธ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • โสภา ศรีสังข์งาม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุปราณี บุญชู สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศราวุธ ตุ่นคำแดง โรงพยาบาลแม่สอด ตาก
  • ณัฐกานต์ ชื่นชม โรงพยาบาลแม่สอด ตาก
  • เบญจวรรณ เพชรสุขศิริ สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

วัณโรค, วัณโรคดื้อยา, การตรวจค้นหา, โรงพยาบาลแม่สอด

บทคัดย่อ

       วัณโรคในเขตชายแดนไทยและเมียนมาร์ยังคงเป็นปัญหาในการควบคุมโรค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการตรวจวัณโรคและวัณโรคดื้อยาในโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ในช่วงเดือนตุลาคม 2560 ถึง มิถุนายน 2561 ผู้ป่วยที่สงสัยเป็นวัณโรคซึ่งมีอาการหรือมีผลเอกซเรย์ปอดผิดปกติเข้าได้กับวัณโรค ได้รับการลงทะเบียนรวม 534 ราย ผลการตรวจวัณโรคทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการโดยการตรวจหาเชื้อย้อมติดสีทนกรดในเสมหะ การเพาะเชื้อ หรือการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี Xpert MTB/RIF พบผู้ป่วยวัณโรค 221 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 65.16 เพศหญิงร้อยละ 30.77 และไม่ระบุเพศร้อยละ 4.07 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 60 ปี ร้อยละ 62.89 และอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 17.65 โดยเป็นผู้ป่วยมีสัญชาติไทยร้อยละ 36.65 และต่างด้าวร้อยละ 57.01 ผู้ป่วยมีผลตรวจย้อมเชื้อเป็นบวก 183 ราย (ร้อยละ 82.81) เพาะเชื้อวัณโรคได้ 113 ตัวอย่าง (ร้อยละ 51.13) และตรวจพบเชื้อวัณโรคด้วยวิธี Xpert MTB/RIF 183 ราย (ร้อยละ 82.81) โดยมีผู้ป่วยจำนวน 421 ราย ได้รับการตรวจครบทั้ง 3 วิธี การตรวจด้วยวิธี Xpert MTB/RIF พบผู้ป่วยในกลุ่มที่มีผลตรวจย้อมเชื้อเป็นลบ เพิ่ม 17 ราย และพบการดื้อยา rifampicin (RIF) 17 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอในยีน rpoB ใน 2 ตำแหน่ง ดังนั้นนอกจากการเร่งรัดการตรวจค้นหาด้วยการใช้วิธีตรวจต่างๆ ที่สามารถได้ผลตรวจรวดเร็วแล้ว การใช้มาตรการเสริมอื่นๆ ในการควบคุมโรคจะสามารถช่วยลดการแพร่ติดต่อของวัณโรคในพื้นที่ได้

References

World Health Organization. Global tuberculosis report 2019. Geneva: World Health Organization; 2019.

Khan MS, Hutchison C, Coker RJ, Yoong J, Hane KM, Innes AL, et al. Preventing emergence of drug resistant tuberculosis in Myanmar's transitioning health system. Health Policy Plan 2017; 32(suppl 2): i43-50.

endTB Organization. Expand new drug markets for TB. [online]. 2016; [cited 2021 Mar 10]; [16 screens]. Available from: URL: http://www.endtb.org/sites/default/files/2016-06/endTB%20project%20presentation.pdf.

Centers for Disease Control and Prevention. Diagnosis of tuberculosis disease. [online]. 2016; [cited 2021 May 7]; [2 screens]. Available from: URL: https://www.cdc.gov/tb/publications/factsheets/testing/diagnosis.htm.

Azadi D, Motallebirad T, Ghaff ari K, Shojaei H. Mycobacteriosis and tuberculosis: laboratory diagnosis. Open Microbiol J 2018; 12: 41-58.

Magalhães JLO, Lima JFDC, Araújo AA, Coutinho IO, Leal NC, Almeida AMP. Microscopic detection of Mycobacterium tuberculosis in direct or processed sputum smears. Rev Soc Bras Med Trop 2018; 51(2): 237-9.

World Health Organization. Automated real-time nucleic acid amplification technology for rapid and simultaneous detection of tuberculosis and rifampicin resistance: Xpert MTB/RIF system. Policy statement. Geneva: World Health Organization; 2011.

Tschirhart N, Nosten F, Foster AM. Migrant tuberculosis patient needs and health system response along the Thailand-Myanmar border. Health Policy Plan 2017; 32(8): 1212-9.

ณัฏฐพล เผด็จสุวันนุกูล. ระบาดวิทยาของผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4 2551; 10(5): 934-8.

อรพรรณ ธีระตระกูลชัย, เกศ ชัยวัชราภรณ์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็นวัณโรคปอดของบุคลากรโรงพยาบาลสมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2557-2561. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2562; 9(2): 166-78.

ธนวิทย์ เมฆาวุฒิกุล, ญาศินี เมฆาวุฒิกุล. การศึกษาทางระบาดวิทยาและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารแพทย์เขต 4-5 2562; 38(3): 232-42.

Global Laboratory Initiative. Mycobacteriology laboratory manual. [online]. 2014; [cite 2021 March 10]; [154 screens]. Available from: URL: https://www.who.int/tb/laboratory/mycobacteriology-laboratorymanual.pdf

Kent PTBD, Kubica GP. Public health mycobacteriology: a guide for the level III laboratory. Atlanta: U.S. Department of Health and Human Services, Centers for Disease Control; 1985.

วิพัฒน์ กล้ายุทธ, โสภา ศรีสังข์งาม, จณิศรา ฤดีอเนกสิน, สุปราณี บุญชู, ศราวุธ ตุ่นคำแดง, สมชาย แสงกิจพร, และคณะ. การตรวจเชื้อวัณโรคและการดื้อยา Rifampicin ด้วย Automated nucleic acid amplification test. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561; 27(1): 96-103.

Wei G, Mu J, Wang G, Huo F, Dong L, Li Y, et al. The reliability analysis of Xpert-positive result for smear-negative and culture-negative specimen collected from bone and joint tuberculosis suspects. J Thorac Dis 2016; 8(6): 1205-9.

Lombardi G, Di Gregori V, Girometti N, Tadolini M, Bisognin F, Dal Monte P. Diagnosis of smear-negative tuberculosis is greatly improved by Xpert MTB/RIF. PLoS One 2017; 12(4): e0176186. (10 pages).

Helb D, Jones M, Story E, Boehme C, Wallace E, Ho K, et al. Rapid detection of Mycobacterium tuberculosis and rifampin resistance by use of on-demand, near-patient technology. J Clin Microbiol 2010; 48(1): 229-37.

World Health Organization. Thailand tuberculosis profile. [online]. 2019; [cite 2021 Mar 20]; [1 screen]. Available from: URL: https://www.aidsdatahub.org/sites/default/files/resource/who-thailand-tbcountry-profile-2019.pdf.

Rudeeaneksin J, Phetsuksiri B, Nakajima C, Bunchoo S, Suthum K, Tipkrua N, et al. Drug-resistant Mycobacterium tuberculosis and its genotypes isolated from an outbreak in western Thailand. Trans R Soc Trop Med Hyg 2021; 115(8): 886-95.

Shete PB, Farr K, Strnad L, Gray CM, Cattamanchi A. Diagnostic accuracy of TB-LAMP for pulmonary tuberculosis: a systematic review and meta-analysis. BMC Infect Dis 2019; 19(1): 268. (11 pages).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)