การศึกษาเปรียบเทียบข้อกำหนดด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการทางการแพทย์: ISO 15190:2003 และ ISO 15190:2020

ผู้แต่ง

  • ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นัฐกาญจน์ ละเอียดดี สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุรศักดิ์ หมื่นพล สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณัฐนันท์ นามมนตรี สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ISO 15190, การศึกษาเปรียบเทียบ, ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

บทคัดย่อ

       สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการมีโปรแกรมการรับรองห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตาม ISO 15189:2012 และรับเอา ISO 15190:2003 มาใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการรับรองด้านความปลอดภัย ขณะนี้ ISO 15190:2020 ได้ถูกประกาศให้ใช้แทนฉบับเดิม ดังนั้นเพื่อมีข้อมูลสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้มาตรฐานด้านความปลอดภัยอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ จึงได้ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อกำหนดระหว่างมาตรฐานทั้งสองฉบับ ผลการศึกษาพบว่ามาตรฐานฉบับใหม่มีข้อกำหนดใหม่ 2 ข้อ คือ employee impairment และ equipment safety ข้อกำหนดเดิมที่ถูกปรับปรุงรายละเอียดอย่างมาก 10 ข้อ ได้แก่ designing for safety, safety management program, hazard identifi cation and risk assessment, emergency preparedness, fi re safety, laboratory ergonomics, safe personnel work practices, waste disposal, housekeeping practices และ incidents, injury, accidents and occupational illnesses และตัดออก 1 ข้อ ได้แก่ risk group classifi cation มีเอกสารคุณภาพที่ต้องจัดทำทั้งหมดเป็น policy, program, plan, manual และ procedure จำนวน 10, 12, 12, 2 และ 23 หัวข้อ ตามลำดับ ห้องปฏิบัติการสามารถนำข้อมูลที่ได้จากผลการศึกษา ข้อเสนอของผู้วิจัย ประกอบกับแบบประเมิน “คู่มือ คำแนะนำการนำมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติ ถอดความข้อกำหนดเป็นภาษาไทย” โดยสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ในการประยุกต์ปรับเปลี่ยนระบบความปลอดภัย อีกทั้งมีข้อกำหนดหลายข้อที่สอดคล้องกับมาตรฐานอื่น เช่น ISO 15189 ซึ่งจะทำให้การจัดการระบบคุณภาพเป็นระบบเดียว เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ มีผลให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน นอกจากนั้นยังช่วยให้ผู้ตรวจประเมินและคณะกรรมการรับรองระบบคุณภาพมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นด้วย ส่งเสริมการพัฒนาระบบความปลอดภัยเข้าสู่มาตรฐานใหม่อย่างมีประสิทธิภาพตามระยะเวลาที่กำหนด

References

สุรศักดิ์ หมื่นพล, ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์, ศิริพรรณ วงศ์วานิช, นัฐกาญจน์ ละเอียดดี. การพัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทยสู่มาตรฐานสากล ISO 15189. ว กรมวิทย พ 2564; 63(1): 119-34.

Pike RM, Sulkin SE, Schulze ML. Continuing importance of laboratory-acquired infections. Am J Public Health Nations Health 1965; 55(2): 190-9.

Petts D, Wren MWD, Nation BR, Guthrie G, Kyle B, Peter L, et al. A short history of occupational disease:1. Laboratory-acquired infections. Ulster Med J 2021; 90(1): 28-31.

Song L, Gao J, Wu Z. Laboratory-acquired infections with Brucella bacteria in China. Biosafety and Health 2021; 3(2): 101-4.

Staskiewicz J, Lewis CM, Colville J, Zervos M, Band J. Outbreak of Brucella melitensis among microbiology laboratory workers in a community hospital. J Clin Microbiol 1991; 29(2): 287-90.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC), National Institutes of Health (NIH). Biosafety in microbiological and biomedical laboratories. 6th ed. Atlanta, GA: Centers for Disease Control and Prevention; 2020.

Laboratory Biosafety Manual Fourth Edition and Associated Monographs. Laboratory biosafety manual fourth edition. Geneva: World Health Organization; 2020.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. คู่มือความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการด้านชีวภาพ. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ชลภัทร สุขเกษม, และคณะบรรณาธิการ. ความปลอดภัยและความมั่นคงทางชีวภาพสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสัตวแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมชีวนิรภัย (ประเทศไทย); 2555.

Soisangwan P. Biosafety and biosecurity law in Thailand: from legislation to practice. J Biosafety and Biosecurity 2021; 3(2): 91-8.

ISO 15189:2012, Medical laboratories - requirements for quality and competence. Geneva: International Organization for Standardization; 2012.

ISO 15190:2020, Medical laboratories-requirements for safety. Geneva: International Organization for Standardization; 2020.

สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวทางปฏิบัติในการเปลี่ยนผ่านการรับรองห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ จาก ISO 15190:2003 เป็น ISO 15190:2020. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 26 ต.ค. 2564]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://blqs.dmsc.moph.go.th/DocCon/G0715044Rev00.pdf.

Tipayamonkholgul M, Luksamijarukul P, Mawn B, Kongtip P, Woskie S. Occupational hazards in the Thai healthcare sector. New Solut 2016; 26(1): 83-102.

Cho NJ, Ji YG. Analysis of safety management condition & accident type in domestic and foreign laboratory. J Ergon Soc Korea 2016; 35(2): 97-109.

International Organization for Standardization. ISO/DIS 15189(en). Medical laboratories -requirements for quality and competence. [online]. [cited 2021 Oct 21]; [1 screen.] Available from: URL: https://www.iso.org/obp/ui/#iso:std:iso:15189:dis:ed-4:v1:en:sec:B.

ภัทรวีร์ สร้อยสังวาลย์. ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การเปรียบเทียบระหว่าง ISO 15190:2003 และ ISO 15190:2020 การถอดความและอธิบายเพิ่มเติมสำหรับการนำไปใช้. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 26 ต.ค. 2564]; [183 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://blqs.dmsc.moph.go.th/page-view/420.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)