ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อปรสิตในลำไส้ของประชากร ในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ช่วงปี พ.ศ. 2562-2563

ผู้แต่ง

  • อุทัยทิพย์ บุญเกษม หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้างและโรคเขตร้อน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สิริพร ศรีรุ่งเรือง หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้างและโรคเขตร้อน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปัทมา อายุโย หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้างและโรคเขตร้อน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิวรพรรณ สรรประเสริฐ หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคเท้าช้างและโรคเขตร้อน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความชุก, ปรสิตในลำไส้, การตรวจวินิจฉัย

บทคัดย่อ

     โรคติดเชื้อปรสิตเป็นโรคซึ่งพบได้ต่อเนื่องและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อปรสิตในลำไส้ มีผลทำให้เกิดภาวะต่างๆ ในร่างกายและเสียชีวิตได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อปรสิตในลำไส้นักเรียนและผู้ใหญ่ในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างปี พ.ศ. 2562-2563 จำนวน 583 ราย ใช้การตรวจวินิจฉัย 3 วิธี คือ simple smear, formalin–ethyl acetate concentration technique (FECT) และ locke egg serum (LES) medium culture ผลการตรวจพบว่ากลุ่มประชากรมีความชุกของการติดเชื้อปรสิตในลำไส้ 28.8% ปรสิตที่พบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโปรโตซัว (28.1%) และกลุ่มหนอนพยาธิ (0.7%) ชนิดของปรสิตก่อโรคที่พบ ได้แก่ Blastocystis hominis (17.15%), Entamoeba histolytica (2.57%), Giardia lamblia (0.51%), Opisthorchis viverrini (0.34%), Strongyloides stercoralis (0.17%), Trichuris trichiura (0.17%) และโปรโตซัวที่ไม่ก่อโรค ได้แก่ Endolimax nana (3.26%) และ Entamoeba coli (4.63%) ทั้งนี้พบการติดเชื้อในผู้ใหญ่ (38.60%) มากกว่าในนักเรียน (21.93%) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ดื่มน้ำที่ไม่ผ่านการต้ม/กรองก่อนดื่ม ไม่สวมรองเท้าเมื่อสัมผัสพื้นดิน และรับประทานปลาสุกๆ ดิบๆ นอกจากนี้การเปรียบเทียบการตรวจวินิจฉัยทั้ง 3 วิธี พบว่าวิธี LES culture ให้ผลรวดเร็วที่สุด (69.64%) ในกลุ่มโปรโตซัว รองลงมา คือ วิธี FECT (17.26%) และวิธี simple smear (13.10%) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ยังคงพบการติดเชื้อปรสิตในลำไส้ ซึ่งนอกจากการให้ความรู้แก่นักเรียนแล้ว ควรมีการป้องกันและควบคุมโรคปรสิตในลำไส้แก่ประชาชนทั่วไปด้วย

References

World Health Organization. Prevention and control of intestinal parasitic infections: report of a WHO Expert Committee. Geneva: World Health Organization; 1987.

World Health Organization. WHO report on the global tobacco epidemic, 2017: monitoring tobacco use and prevention policies. Geneva: World Health Organization; 2017.

Nuchprayoon S, Siriyasatien P, Kraivichian K, Porksakorn C, Nuchprayoon I. Prevalence of parasitic infections among Thai patients at the King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand. J Med Assoc Thai 2002; 85(Suppl 1): S415-23.

Wongsaroj T, Nithikathkul C, Rojkitikul W, Nakai W, Royal L, Rammasut P. National survey of helminthiasis in Thailand. Asian Biomedicine 2014; 8(6): 779-83.

Chonsawat P, Wongphan B. Prevalence of parasitic infections in patients at Hospital for Tropical Diseases, Mahidol University. J Med Tech Assoc Thai 2017; 45(2): 6073-84.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการตายรายจังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2554-2556. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2561. นครสวรรค์: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Nuchprayoon S, Sanprasert V, Kaewzaithim S, Saksirisampant W. Screening for intestinal parasitic infections among Myanmar migrant workers in Thai food industry: a high-risk transmission. J Immigr Minor Health 2009; 11(2): 115-21.

Assavapongpaiboon B, Bunkasem U, Sanprasert V, Nuchprayoon S. A crosssectional study on intestinal parasitic infections in children in suburban public primary schools, Saraburi, the central region of Thailand. Am J Trop Med Hyg 2018; 98(3): 763-7.

อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร. คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคหนอนพยาธิเพื่อหาไข่พยาธิและตัวอ่อนในอุจจาระคนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยวิธีคาโต้ ธิค สเมียร์หรือคาโต้ แคทธ์. เชียงใหม่: สำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

พิสัย กรัยวิเชียร, บรรณาธิการ. ปาราสิตวิทยาทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534.

ประยงค์ ระดมยศ, อัญชลี ตั้งตรงจิตร, ศรีวิชา ครุฑสูตร, พลรัตน์ วิไลรัตน์, สุภลัคน์ โพธิ์พฤกษ์. Atlas of medical parasitology: with 469 colour illustrations. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

ชูมณี ละม่อม, รัชฎา เกียรติเฟื่องฟู. เทคนิคพื้นฐานทางปรสิตวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.

Hailu T, Abera B. Performance evaluation of direct saline stool microscopy, Formol ether concentration and Kato Katz diagnostic methods for intestinal parasitosis in the absence of gold standard methods. Trop Doct 2015; 45(3): 178-82.

Sanprasert V, Charuchaibovorn S, Bunkasem U, Srirungruang S, Nuchprayoon S. Comparison between direct smear, formalin-ethyl acetate concentration, and Mini Parasep® Solvent-Free Concentrator for screening of intestinal parasitic infections among school-age children. Chula Med J 2016; 60(3): 255-69.

Saksirisampant W, Nuchprayoon S, Wiwanitkit V, Yenthakam S, Ampavasiri A. Intestinal parasitic infestations among children in an orphanage in Pathum Thani province. J Med Assoc Thai 2003; 82(Suppl 2): S263-70.

Sangwalee W, Rattanapitoon N, Thanchomnang T. Intestinal parasitic infections and risk factors among Myanmar migrant workers in northeast Thailand. Asian Pac J Trop Med 2021; 14(1): 17-26.

Taepongsorat L, Nithikathkul C, Homchampa P, Changsap B, Wannapinyosheep S, Reungsang P, et al. Prevalence of parasitic infection in Sum Sung sub-district, Khon Kaen Province, Thailand. SNRU J Sci Tech 2016; 8(2): 211-5.

Suntaravitun P, Dokmaikaw A. Prevalence of intestinal parasites and associated risk factors for infection among rural communities of Chachoengsao Province, Thailand. Korean J Parasitol 2018; 56(1): 33-9.

พิสิษฐ์ สุนทราวิฑูร, งามนิตย์ ราชกิจ, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์, สุนทรี สุรัตน์, ชัยพงศ์ เครือจักร, สมศักดิ์ มณีรัตน์, และคณะ. ความชุกของการติดเชื้อปรสิตลำไส้ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย. ว สาธารณสุขศาสตร์ 2556; 43(2): 113-25.

สุภาภรณ์ วรรณภิญโญชีพ, บังอร ฉางทรัพย์, ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล. ความชุกของพยาธิลำไส้ในพนักงานของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. ว มฉก.วิชาการ 2560; 20(40): 13-28.

เกษตร ปะทิ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหนอนพยาธิของประชาชนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน พ.ศ. 2559. ว สุขภาพภาคประชาชน 2560: 12(4); 36-42.

วิวัฒน์ สังฆะบุตร, อรอุษา ปราสาททอง, กิตติศักดิ์ ประครองใจ. ความชุกของการติดหนอนพยาธิและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนภายใต้โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ จังหวัดบุรีรัมย์ และสุรินทร์ พ.ศ. 2562. ว ควบคุมโรค 2564; 47(2): 246-56.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แนวทางการปฏิบัติงานโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Rosenbaum M. Learned resourcefulness: on coping skills self control and adaptive behavior. New York: springer; 1990.

Becker MH. The health belief model and sick role behavior. Health Education Monographs. 1974; 2(4): 409-19.

Kitphati R, Seangkeao K, Muangyim K, Nak-ai W. Participatory development in community health for the Pgazkoenyau ethnic: a case study in an ethnic community in Thailand. Open Public Health J 2022; 15: 1-10.

McHardy IH, Wu M, Shimizu-Cohen R, Couturier MR, Humphries RM. Detection of intestinal protozoa in the clinical laboratory. J Clin Microbiol 2014; 52(3): 712-20.

Parameshwarappa KD, Chandrakanth C, Sunil B. The prevalence of intestinal parasitic infestations and the evaluation of different concentration techniques of the stool examination. JCDR 2012; 6(7): 1188-91.

Saksirisampant W, Nuchprayoon S, Pradniwat P, Lamchuan D. Boeck and Drbohlav Locke egg serum medium for detection of Blastocystis hominis. Chula Med J 2010; 54(6): 527-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)