การเปรียบเทียบผลการวัดความเหลื่อมล้ำของลำรังสีเอกซเรย์ระหว่างเครื่องวัดขนาดลำรังสีเอกซเรย์แบบดิจิทัลและคอลลิเมเตอร์

การเปรียบเทียบผลการวัดความเหลื่อมล้ำของลำรังสีเอกซเรย์

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิพย์ พุฒบุรี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี
  • คทายุทธ นิกาพฤกษ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

เครื่องวัดขนาดลำรังสีเอกซเรย์แบบดิจิทัล, คอลลิเมเตอร์, อุปกรณ์วัดความเหลื่อมล้ำของลำรังสีกับแสงไฟ

บทคัดย่อ

         เครื่องวัดขนาดลำรังสีเอกซเรย์แบบดิจิทัล (digital X-ray ruler) เป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นใหม่สำหรับตรวจสอบขนาดของลำรังสีเอกซเรย์และตรวจสอบความเหลื่อมล้ำของลำรังสีกับลำแสงไฟ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียเทียบผลการวัดความเหลื่อมล้ำของลำรังสีเอกซเรย์กับลำแสงไฟระหว่างเครื่องวัดขนาดลำรังสีเอกซเรย์แบบดิจิทัลและเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน คือคอลลิเมเตอร์ (collimator test tool) ซึ่งเป็นอุปกรณ์วัดความเหลื่อมล้ำของลำรังสีกับลำแสงไฟสำหรับเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไป ผลการทดสอบการเปรียบเทียบผลการวัดความเหลื่อมล้ำของลำรังสีเอกซเรย์กับลำแสงไฟของเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไปที่มีลำแสงไฟชัดเจน พบว่าเครื่องวัดขนาดลำรังสีเอกซเรย์แบบดิจิทัลมีค่าความแตกต่างจาก collimator test tool สูงสุดที่ 0.03 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.34 ในขณะที่เครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไปที่มีลำแสงไฟไม่ชัดเจน พบว่าค่าความแตกต่างระหว่างค่าความเหลื่อมล้ำของลำรังสีกับลำแสงไฟที่มากที่สุด คือ 0.09 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 1.41 สรุปได้ว่าเครื่องมือทั้งสองให้ผลการวัดที่ไม่แตกต่างกัน สามารถใช้เครื่องวัดขนาดลำรังสีเอกซเรย์แบบดิจิทัลแทน collimator test tool ได้

 

References

UNSCEAR. Sources and effects of ionizingradiation volume 1 & 2: UNSCEAR 2008 report to the General Assembly with scientificannexes. New York: United Nations Publication; 2008.

Willis CE, Slovis TL. The ALARA concept in pediatric CR and DR: dose reduction in pediatric radiographic exams--a white paper conference executive summary. Pediatr Radiol 2004; 34(Suppl 3): S162-4.

Cook JV, Kyriou JC, Pettet A, Fitzgerald MC, Shah K, Pablot SM. Key factors in the optimization of paediatric X-ray practice. Br J Radiol 2001; 74(887): 1032-40.

Gallet JM, Reed MH, Hlady J. A novel quality assurance method in a university teaching paediatric radiology department. Br J Radiol 2000; 73(872): 843-6.

ICRP. Recommendations of the International Commission on Radiological Protection. Ottawa: ICRP Publication 60 Ann ICRP 21: 1-3; 1991.

Faculty of Clinical Radiology. General X-ray QA and QC guideline. Sydney, Australia: The Royal Australian and New Zealand College of Radiologists; 2013.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์ (Quality standard of medical diagnostic X-ray machines). กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2562. หน้า 3-19.

Stollfuss J, Schneider K, Krüger-Stollfuss I. A comparative study of collimation in bedside chest radiography for preterm infants in two teaching hospitals. Eur J Radiol Open 2015; 2: 118-22.

QUART Nonius. User guide electronic X-ray ruler for radiation field edges and fan-beam evaluation, version 07/18. Kirchenweg: Quart GmbH; 2019.

Vashista M, Paul S. Correlation between full width at half maximum (FWHM) of XRD peak with residual stress on ground surfaces. Philosophical Magazine 2012; 92(33): 4194-204.

International Atomic Energy Agency. Quality assurance programme for digital mammography. IAEA human health series no. 17. Vienna: IAEA; 2011. p. 3-24

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)