การประเมินการได้รับสัมผัสโอคราทอกซินเอจากการบริโภคกาแฟ พริกแห้ง และพริกป่น ของคนไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2564

การประเมินการได้รับสัมผัสโอคราทอกซิน เอ ในอาหาร

ผู้แต่ง

  • สิริพร สะสีสม สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศุภิรา ใจหา สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พนาวัลย์ กลึงกลางดอน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

โอคราทอกซินเอ, กาแฟ, พริกแห้ง, พริกป่น, การประเมินการได้รับสัมผัส

บทคัดย่อ

          โอคราทอกซินเอ (ochratoxin A; OTA) เป็นสารพิษจากเชื้อราที่พบว่ามีการปนเปื้อนในอาหาร เป็นพิษต่อตับและไต และอาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการได้รับ OTA จากการบริโภคกาแฟ พริกแห้ง และพริกป่น โดยรวบรวมผลวิเคราะห์การปนเปื้อน OTA ในกาแฟ พริกแห้ง และพริกป่น จำนวน 77, 25 และ 67 ตัวอย่าง ตามลำดับ ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2564 พบ OTA คิดเป็นร้อยละ 5, 28 และ 87 ตามลำดับ ผลการศึกษาปริมาณการได้รับสัมผัสได้จากค่ามัธยฐานปริมาณสารที่ระดับ middle bound กับข้อมูลการบริโภคอาหารในประเทศไทยของประชากรทั้งหมด (per capita) ที่ระดับการบริโภคเฉลี่ยและเปอร์เซ็นไทล์ (percentile) ที่ 97.5 ของกลุ่มอายุ 3 ปีขึ้นไป พบปริมาณการได้รับสัมผัส OTA มีค่า 0.89 และ 4.66 นาโนกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ตามลำดับ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าความปลอดภัย Provisional Tolerable Weekly Intake (PTWI) ที่กำหนดโดย WHO/JECFA เท่ากับ 112 นาโนกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ พบว่าต่ำกว่าค่า PTWI มากกว่า 125 และ 24 เท่า ตามลำดับ ดังนั้นปริมาณการได้รับสัมผัส OTA จากการบริโภคอาหารที่เป็นแหล่งปนเปื้อนหลักทั้งสามชนิดนี้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคคนไทย

References

World Health Organization. Mycotoxins. [online]. 2018; [cited 2022 Jan 15]; [4 screens]. Available from: URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mycotoxins.

Food and Agriculture Organization of the United Nations. Mycotoxins of world-wide importance. [online]. 1994; [cited 2022 Apr 30]; [5 screens]. Available from: URL: https://www.fao.org/3/y1390e/y1390e04.htm.

Aoyama K, Nakajima M, Tabata S, Ishikuro E, Tanaka T, Norizuki H, et al. Four-year surveillance for ochratoxin a and fumonisins in retail foods in Japan. J Food Prot 2010; 73(2): 344-52.

Jørgensen K. Occurrence of ochratoxin A in commodities and processed food--a review of EU occurrence data. Food Addit Contam 2005; 22(Suppl 1): 26-30.

Nguyen MT, Tozlovanu M, Tran TL, Pfohl-Leszkowicz A. Occurrence of aflatoxin B1, citrinin and ochratoxin A in rice in five provinces of the central region of Vietnam. Food Chemistry 2007; 105(1): 42-7.

Jalili M, Jinap S. Natural occurrence of aflatoxins and ochratoxin A in commercial dried chili. Food Control 2012; 24(1-2): 160-4.

สุพี วนศิรากุล, เนตรา สมบูรณ์แก้ว, อัจฉราพร ศรีจุดานุ, อมรา ชินภูติ. ศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อราและสารโอคราทอกซินเอในผลไม้อบแห้งและการลดปริมาณสารพิษโดยใช้วิธีทางกายภาพ. ว วิชาการเกษตร 2557; 32(2): 188-200.

นลินทิพย์ รอดสีเสน. การวัดปริมาณโอคราทอกซิน เอและบี ที่ปนเปื้อนในพริกแห้ง [วิทยานิพนธ์]. ภาควิชาพิษวิทยา, คณะวิทยาศาสตร์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 118 ง (วันที่ 20 พฤษภาคม 2563). หน้า 17.

EUR-Lex Access to European Union law. Commission Regulation (EU) 2023/915 of 25 April 2023 on maximum levels for certain contaminants in food and repealing Regulation (EC) No 1881/2006. [online]. 2023; [cited 2023 Jun 30]. Available from: URL: https://eur-lex.europa.eu/eli/reg/2023/915/oj.

World Health Organization, International Agency For Research on Cancer. IARC monographs on the evaluation of carcinogenic risks to humans. [online]. 2002; [cited 2022 Jan 15]. Available from: URL: https://publications.iarc.fr/_publications/media/download/2618/a48798b1acf1f630be9fcbb30ffb2d56b790c08d.pdf.

วราพร รัตนเสนา. การใช้ Saccharomyces cerevisiae ดูดซับสารพิษ aflatoxin B1 และ ochratoxin A [วิทยานิพนธ์]. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.

INCHEM International Peer Reviewed Chemical Safety Information. Ochratoxin A. [online]. 2001; [cited 2023 Nov 5]. Available from: URL: https://inchem.org/documents/jecfa/jecmono/v47je04.htm.

World Health Organization. Ochratoxin A. In: 68th meeting of the Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA).

[online]. 2007; [cited 2022 Apr 30]; [74 screens]. Available from: URL: https://apps.who.int/food-additives-contaminants-jecfa-database/Home/Chemical/1905.

EFSA Panel on Contaminants in the Food Chain (CONTAM). Risk assessment of ochratoxin A in food. EFSA Journal. [online]. 2020; [cited 2022 Apr 5]; 18(5): [150 screens]. Available from: URL: https://efsa.onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.2903/j.efsa.2020.6113.

AOAC official method 2004.10 Ochratoxin A in green coffee. In: Latimer GW, editor. Official methods of analysis of AOAC international. 20th ed. Washington, DC: AOAC International; 2019. p. 70-72.

สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย. [ออนไลน์]. 2559. [สืบค้น 1 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/19305/20675.pdf.

European Food Safety Authority. Margin ofexposure 2023. [online]. 2023; [cited 2023 Jun2]. Available from: URL: https://www.efsa.europa.eu/en/topics/topic/margin-exposure.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2024

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)