ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • รัตนาพร พัฒนะโชติ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองนครพนม

คำสำคัญ:

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ, การมีส่วนร่วม, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา (N) คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 21 คน และคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

                   ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.86 อายุ 51-59 ปี ร้อยละ 62.75 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 70.59 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 84.32 มีรายได้ต่อเดือน 50,001 บาท ขึ้นไป ร้อยละ 31.37 ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต 4 ปีขึ้นไป ร้อยละ 56.86 ไม่เคยมีประสบการณ์การประชุม/อบรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ร้อยละ 58.82 ด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง  ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน พบว่า ปัจจัยทัศนคติด้านแรงกดดันทางสังคม และทัศนคติด้านอำนาจตามกฎหมาย ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 58.00 (R2=0.580)

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561[อินเตอร์เน็ต]; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก:https://multi.dopa.go.th/legal/news/cate1/view43.

Bloom, B.S. Taxonomy of Education Objective, Hand Book 1: Cognitive Domain. New York: David Mackay; 1975.

Likert, A. The Method of Constructing and Attitude Scale, in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son; 1967.

Best, J. W. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.

Kuder, G. F. and Richardson, M. W.. The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika. 2, ; 1937.

สรรเพชญ เรืองอร่าม. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]; 4(2): 109-125. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/244544.

อดุลย์ บำรุง. ข้อเสนอแนะการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.). วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]; 1(1): 87-101. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jkkpho/article/view/245199

จิรชาย ประสพธัญญา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]; 8(2): 26-32. เข้าถึงได้จาก: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1363

สุธิดา เหล่าประดิษฐ์. การประเมินผลการดําเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ประยุกต์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2567]; 1(1): 12-29. เข้าถึงได้จาก: https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jass/article/view/542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-15