ผลการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในผู้ที่มีผลบวกจากการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ ด้วยวิธีทางอิมมูโนเคมิคอล ของโรงพยาบาลประจวบคิรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • Wutthikorn Wongsilathai M.D., Prachuapkhirikhan Hospital

คำสำคัญ:

การตรวจเลือดแฝงในอุจาระด้วยวิธีทางอิมมูโนเคมิคอล, มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง, ติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่, ติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็ง, การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่, การคัดกรอง ประเทศไทย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพือค้นหาค่าผลบวกลวง และค่าการทำนายผลบวกในผู้ที่มีผลบวกจากการตรวจเลือดแฝงในอุจจาระด้วยวิธีทางอิมมูโนเคมิคอล และได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง โดยศึกษาในผู้ที่มีอายุ 50-70 ปีที่มีผลบวกจากการตรวจเลือดแฝงในอุจาระด้วยวิธีทางอิมมูโนเคมิคอล และได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ณ โรงพยาบาลประจวบคิรีขันธ์ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2561 ถึง 31 มีนาคม 2563 โดยเก็บรวบรวมข้อมูล สถานภาพของกลุ่มประชากร ผลการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และผลรายงานทางพยาธิวิทยาของผู้เข้ารับการตรวจ

ผลการศึกษา: จากผู้ที่มีผลบวกจากการตรวจเลือดแผงในอุจาระด้วยวิธีทางอิมมูโนเคมิคอล และได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ณ โรงพยาบาลประจวบคิรีขันธ์ 367 ราย พบมี 55 รายได้ถูกคัดออกจากการศึกษา เนื่องจากอายุ ประวัติการผ่าตัดลำไส้ ประวัติการเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ภายใน 5 ปี และจากการสูญหายของรายงานผลพยาธิวิทยา พบค่าผลบวกลวงเท่ากับร้อยละ 41.7 ค่าการทำนายผลบวกพบ ติ่งเนื้อปกติร้อยละ 13.8 ติ่งเนื้อที่มีความเสี่ยงของการกลายเป็นมะเร็งร้อยละ 28.5 มะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 7.1 และโรคของกระเปาะลำไส้ใหญ่ร้อยละ 9.0

สรุป: การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลประจวบคิรีขันธ์พบค่าการพยากรณ์ผลบวก คิดเป็นร้อยละ 35.6 ในการตรวจพบรอยโรคติ่งเนื้อที่มีความเสี่ยงของการกลายเป็นมะเร็ง และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ในขณะที่พบผลบวกลวงได้ร้อยละ 41.7

References

1. Imsamran W, Pattatang A, Supattagorn P, et al. Cancer in Thailand: Vol.IX, 2013-2015. Bangkok: Pronsup Printing; 2018.
2. Losiriwat V, Chaisomboon N, Pattana-Arun J, et al. Current colorectal cancer in Thailand. Ann Coloproctol. 2020; 36(2): 78-82.
3. National Cancer Institue of Thailand. HCospital-base cancer registry 2017. Bankok (Thailand): Pronsup Printing; 2017.
4. Hol L, van Leerdam ME, van Ballegooijen M, et al. Screening for colorectal cancer: randomized trial comparison guaiac-based and immunochemical fecal occult blood testing and flexible sigmoidoscopy. Gut. 2010; 59(1): 62-8.
5. van Rossum LG, van Rijn AF, Laheij RJ, et al. Random comparison of guaiac and immunochemical fecal occult blood test for colorectal cancer in a screening population. Gastroenterology. 2008; 135(1): 82-90.
6. Navarro M, Nicolas A, Ferrandez A, et al. A colorectal cancer population screening programs worldwide in 2016: An update. World J Gastroenterol. 2017; 23(20): 3632-42.
7. Parra-Blanco A, Gimeno-García AZ, Quintero E, et al. Diagnosis accuracy of immunochemical versus guaiac fecal occult blood test for colorectal cancer screening. J Gastroenterology. 2010; 45(7): 703-12.
8. Vart G, Banzi R, Minozzi S. Comparing participation rate between immunochemical and guaiac fecal occult blood test: a systematic review and meta-analysis. Prev Med. 2012; 55(2): 87-92.
9. Shaukat A, Mongin SJ, Geisser MS, et al. Long-term mortality after screening for colorectal cancer. N Engl J Med. 2013; 369: 1106-14.

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29