การช่วยฟื้นคืนชีพยุค 2010 และการพยาบาล,Cardiopulmonary Resuscitation 2010 and Nursing care CPR 2010 and Nursing care

Main Article Content

ผาณิต หลีเจริญ

Abstract

                                การช่วยฟื้นคืนชีพยุค 2010 และการพยาบาล
                                                                          ผาณิต หลีเจริญ*
                                                     บทคัดย่อ
    บทความเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ จัดทำขึ้นโดยการรวบรวมความรู้ในหลักปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ตามแนวทางปฏิบัติ CPR 2010 ของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน (American Heart Association) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งให้บุคลาการทางการแพทย์หรือผู้ที่สนใจมีความรู้ความเข้าใจในหลักการช่วยฟื้นคืนชีพที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีเทคนิคที่ถูกต้องตามหลักการที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติ CPR 2005 มาจนถึงปัจจุบันคือจากแนวปฏิบัติเดิมที่มีขั้นตอนเริ่มการช่วยฟื้นคืนชีพจาก A- B-C (Airway-Breathing-Circulation) เป็น C-A-B (Circulation-Airway-Breathing).
    บทความอธิบายขั้นตอนของการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการกู้ชีพขั้นพื้นฐานและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง เฉพาะผู้ที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแบบ ventricular tachycardia, ventricular fibrillation, asystole และ PEA โดยทำการกดหน้าอกและการช่วยหายใจในสัดส่วน 30:2 ในอัตราที่ต้องไม่น้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ซึ่งต้องกดลึก 2 นิ้วและก่อนการกดหน้าอกครั้งต่อไปต้องทำการกดทันทีที่หน้าอกคืนตัวกลับจนสุด การช็อกไฟฟ้า และการให้ยากระตุ้นหัวใจขณะช่วยฟื้นคืนชีพ การดูแลผู้ป่วยทั้ง 3 ระยะคือก่อน ขณะ และหลังจากการช่วยฟื้นคืนชีพซึ่งมีความสำคัญต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการตาย ดังนั้นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในทีม CPR ควรต้องมีทักษะการ CPR เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพยาบาลซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือที่สำคัญในทีมการช่วยฟื้นคืนชีพ

Cardiopulmonary Resuscitation 2010 and Nursing care CPR 2010 and Nursing care

Phanit Leecharoen*

Abstract

           This article was written by gathering knowledge of CPR Clinical Practices. Guideline (2010) is focused on the medical personnel or those interested in a deeper understanding of the principles of resuscitation. In particular, in the practices of CPR 2005 to the present has changed from the practice of the process starting from the A-B-C (Airway-Breathing-Circulation) to C-A-B (Circulation-Airway-Breathing).
Article describes the process of basic life support and advanced life support for ECG Abnormalities which include ventricular Tachycardia, ventricular Fibrillation, Asystole and PEA that consists of chest compression and rescue breaths in a ratio of 30:2, rate of chest compression that is not less than 100 beats /min, Nursing care before, during and after the resuscitation. It is vital to the incidence of complications and mortality. The medical professionals who were involved with the CPR team should have a good CPR competency, especially nurses who assist the team in the process of Resuscitation.  


   

Article Details

How to Cite
1.
หลีเจริญ ผ. การช่วยฟื้นคืนชีพยุค 2010 และการพยาบาล,Cardiopulmonary Resuscitation 2010 and Nursing care CPR 2010 and Nursing care. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Feb. 6 [cited 2024 Apr. 25];24(2):1-10. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/30304
Section
บทความวิจัย
Author Biography

ผาณิต หลีเจริญ