การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชน แบบไร้รอยต่อ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ดารณี เทียมเพ็ชร์
กศิมา สง่ารัตนพิมาน
มัญฑิตา อักษรดี
เพ็ญพร ทวีบุตร
วรเดช ช้างแก้ว

Abstract

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชนแบบไร้รอยต่อ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ที่มารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบเจาะจง และตามเกณฑ์การคัดเลือก ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน ที่เป็นผู้ป่วยเบาหวานในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว และผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชนแบบไร้รอยต่อ สมุดบันทึกประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยเบาหวาน แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ให้บริการต่อระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชนแบบไร้รอยต่อ เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา   ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired  t-test

       ผลการวิจัย พบว่า 1.) ระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชนแบบไร้รอยต่อ ช่วยให้เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง  2.)ค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง ( \bar{x} = 204.47, SD = 41.62) หลังการทดลอง (\bar{x} = 150.10, SD = 40.93) น้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=10.15, p< .001) 3.)ค่าเฉลี่ยความรู้โรคเบาหวานกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลอง(\bar{x} = 7.47, SD = 2.08) หลังการทดลอง (\bar{x} = 10.88, SD = 1.06) เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=15.57,  p< .001)  4.)ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชนแบบไร้รอยต่อ ของผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.52, SD = .42) และผู้ให้บริการอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.05, SD = .24) สรุปว่าระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชนแบบไร้รอยต่อช่วยให้เกิดระบบการดูแลที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ผู้ให้บริการเกิดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและเกิดเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบไร้รอยต่อ

คำสำคัญ:  ระบบการดูแล; ผู้ป่วยเบาหวาน; ลงสู่ชุมชน; แบบไร้รอยต่อ

* โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ; อีเมล์ติดต่อ : tim_or@hotmail.com

** วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี


Development of Diabetes Millitus (DM) Care System Continued Seamlessly to Communities, Muang District, Srakaew Province

Daranee Tieampet*

Kasima Sangrattanapiman*  Monthita Aksornde*

  Penporn Taweebut* Woradate Changkaew**

Abstract

       The study was an action research aimed to develop and identify outputs of Diabetes Millitus (DM) care system continued seamlessly to communities, Muang District, Srakaew Province. The samples were patients with DM type II, serviced in out-patient department, Somdet Phra Yupparat, Srakaew. The researchers selected the samples using purposive sampling and selection criteria. The samples were 60 patients with DM  in Muang District, Srakaew Province and 43 caregivers of with DM . The instruments used in the study were composed of DM care system continued seamlessly to community and personal notebooks of DM patient. The tools use in collecting the data were patients with DM recording forms, knowledge regarding to DM questionaires, and satisfaction of patients and caregivers on the  DM care system continued seamlessly to communities . The researchers collected the data between November 2014 and January 2015. The researchers analysed data using descriptive statistics, percentage, mean, standard deviation and paired t-test . 

       The results revealed that  1.) The DM care stem continued seamlessly to communities promoted the network of continued care. 2.) The average  blood sugar level of experimental group after using the system was less than the one before significantly (t=10.15,  p< .001). 3). The mean score of knowledge related to DM of the experimental group  after using the system was higher than the one before significantly (t=15.57,  p< .001). 4.) The mean score of satisfaction on system DM care system continued seamlessly to communities of DM patients was very good (\bar{x} = 4.52, SD = .42) and health care provider was good (\bar{x} = 4.05, SD = .24). The results of the research show that system of  DM care continued seamlessly to communities enhanced the appropriate care system. The health care provider had an explicit operating guideline and cooperation network in providing care of patients with DM continued seamlessly.

 Keywords : care system; diabetes millitus (DM); community; seamless

* Somdet Phra Yupparat Srakaew Hospital. ; e-mail : tim_or@hotmail.com

** Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi.

Article Details

How to Cite
1.
เทียมเพ็ชร์ ด, สง่ารัตนพิมาน ก, อักษรดี ม, ทวีบุตร เ, ช้างแก้ว ว. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชน แบบไร้รอยต่อ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Mar. 3 [cited 2024 Mar. 29];25(3):156-69. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47287
Section
บทความวิจัย