ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบไคร้หอม

Main Article Content

บุญเลี้ยง สุพิมพ์

บทคัดย่อ

ไคร้หอม สมุนไพรพื้นบ้านและมีสรรพคุณตามยาไทยแผนโบราณสำหรับการรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด หวัดเรื้อรัง และไซนัสอักเสบ ซึ่งการมีฤทธิ์เป็นยานี้อาจมีความเกี่ยวกับกับคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบไคร้หอม โดยใช้น้ำและเอทานอลเป็นตัวทำละลายในการสกัดสาร การตรวจหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ด้วยวิธี Folin - Ciocalteu method ทดสอบฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบไคร้หอมด้วยวิธี DPPH (2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl) assay หาค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบไคร้หอมด้วยวิธี FRAP (Ferric reducing/antioxidant potential) ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดด้วยเอทานอลมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด เท่ากับ 17.71±1.05 mg GAE/mg sample มีค่า IC50 ในการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH เท่ากับ 1,380±0.02 mg/ml และค่า FRAP เท่ากับ 190.42±0.01 mg TEAC/mg sample และสารสกัดด้วยน้ำ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 5.98±0.29 mg/ml GAE/mg sample มีค่า IC50 ในการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH เท่ากับ 11,240±1.33 mg/ml และค่า FRAP เท่ากับ 30.05±0.76 mg TEAC/mg sample โดยสารสกัดด้วยเอทานอลมีปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารสกัดด้วยน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นสารสกัดด้วยเอทานอลของใบไคร้หอมมีแนวโน้มเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติได้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ