ประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาเบญจกูลในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืด แน่นท้องของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน สาขาศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะฯ

Main Article Content

สิริพร คงเกตุ
ศุภะลักษณ์ ฟักคำ
สรรใจ แสงวิเชียร
ธารา ชินะกาญจน์
พีรยา อานมณี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาเบญจกูลในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดแน่นท้อง โดยใช้แบบประเมิน Severity of dyspepsia assessment (SODA) และศึกษาความปลอดภัย จากการใช้ยาเบญจกูลในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดแน่นท้อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินจากกลุ่มตัวอย่างในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืด ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน สาขาศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ จำนวน 85 คน ระยะเวลา 7 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า การประเมินอาการท้องอืดแน่นท้อง (Dyspepsia) จำแนกตามอาการก่อนรับประทานยา และหลังรับประทานยา 3 วัน และ 7 วันตามลำดับ พบว่า คะแนนระดับอาการท้องอืด คะแนนระดับอาการอื่น ๆ อาการตามระดับความรุนแรงของอาการเรอ ปวดใต้ลิ้นปี่ ท้องอืด ผายลม เรอเหม็นเปรี้ยว คลื่นไส้ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และคะแนนความพึงพอใจต่ออาการท้องอืด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การประเมินความพึงพอใจต่ออาการท้องอืดแน่นท้อง (Dyspepsia) จำแนกตามอาการก่อนรับประทานยา และหลังรับประทานยา 3 วัน และ 7 วันตามลำดับ พบว่า 85.89% ของผู้ป่วยรายงานว่าอาการดีขึ้น และไม่มีผลข้างเคียง 14.11% ของผู้ป่วยรายงานว่าผลข้างเคียงส่วนใหญ่ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ผลข้างเคียงที่พบได้แก่ คอแห้งกระหายน้ำ เรอ ผายลมบ่อยขึ้น และท้องเสีย ยาเบญจกูลมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการรักษา

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ