การศึกษาองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านจังหวัดพิจิตร: กรณีศึกษา นายมนัส สุทธิกาศ

Main Article Content

ชลชิด คำพันธ์
ฉลองรัฐ ทองกันทา
นิพนธ์ แก้วต่าย
ภิญญาพัชญ์ พุฒจ้อย
พิพัฒน์ แก้วอุดม
เพชรลดา เขื่อนเก้า
สุพิชฌาย์ เหงาจิ้น

บทคัดย่อ

จากการสำรวจของคณะผู้วิจัย มีหมอพื้นบ้านเป็นที่ยอมรับของชุมชน คือ นายมนัส สุทธิกาศ มีความชำนาญในการรักษาโรคได้รับขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ สาขาเวชกรรมไทย (ค) และเป็นหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2562 คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลัง องค์ความรู้ แนวทางการรักษาของหมอพื้นบ้าน จังหวัดพิจิตรกรณีศึกษานายมนัส สุทธิกาศระเบียบวิจัยคือใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นแบบเจาะจง ศึกษาจากนายมนัส สุทธิกาศระยะเวลาการเก็บข้อมูลช่วงเวลา 09.00–12.00 น. จำนวน 5 ครั้ง แต่ละครั้ง 3 ชั่วโมงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต ตอบแบบสอบถาม บันทึกภาพนิ่ง บันทึกภาพเคลื่อนไหว การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักการวิจัยเชิงคุณภาพและเขียนรายงานการวิจัยเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า นายมนัส สุทธิกาศภูมิหลังภูมิลำเนาเดิมจังหวัดนครสวรรค์นำเอาองค์ความรู้จากบรรพบุรุษมาใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน การสืบถอดองค์ความรู้จากบิดา ชื่อนายเชื้อ สุทธิกาศด้านการใช้ยาสมุนไพร ด้านพิษงูและแมลงสัตว์กัดต่อย ด้านการนวด ด้านกระดูกหักควบคู่กับการใช้พิธีกรรมและคาถา สมุนไพรที่ใช้ คือ ต้นคราม เสลดพังพอนตัวผู้และน้ำมันมะพร้าว ความรู้มาใช้ในแต่ละรูปแบบและประสบการณ์เคยรักษาผู้ป่วยในชุมชนด้วยการนวดเขี่ยเส้น ใช้ยาฝน ใช้น้ำมันทา พ่น/เป่า ปลุกเสกน้ำมัน ต่อกระดูก คลึงกระดูก เป็นต้น องค์ความรู้นี้จะเป็นแหล่งข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านรักษาโรคและการดูแลสุขภาพของหมอพื้นบ้านในชุมชนรวบรวมข้อมูลด้วยหลักการวิจัยเชิงคุณภาพ สรุปผลและเขียนรายงานการวิจัยเชิงพรรณนาต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ