ฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของสารสกัดหมากเม่า ปลีกล้วยน้ำว้า และลูกหม่อน

Main Article Content

อรณิชา ครองยุติ
สุภัสสร วันสุทะ

บทคัดย่อ

เบาหวานเป็นกลุ่มโรคเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญอาหารเนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งมีวิธีการรักษาโรคเบาหวาน เช่น การลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยการยับยั้งเอนไซม์ย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต คือ เอนไซม์แอลฟาอะไมเลส (α-amylase enzyme)ซึ่งเป็นเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสของสารสกัดจากสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ หมากเม่าปลีกล้วยน้ำว้าและลูกหม่อนสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอล70% เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นทำให้แห้งเพื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH การหาปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu การหาปริมาณสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ด้วยวิธี Aluminum chlorideและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสด้วยวิธี dinitrosalicylic acid (DNS) โดยมีอะคาร์โบสเป็นยามาตรฐานผลการวิจัยพบว่า สารสกัดทั้ง 3 ชนิดมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ สารสกัดหมากเม่าปลีกล้วยน้ำว้า และลูกหม่อน ตามลำดับ โดยสารสกัดหมากเม่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสได้ดีที่สุด (%inhibition = 49.25 ± 0.86 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) รองลงมาปลีกล้วยน้ำว้า(%inhibition = 42.72 ± 1.01 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และลูกหม่อน (%inhibition = 32.10 ± 0.12 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) เมื่อเทียบกับยาอะคาร์โบส (%inhibition = 69.59 ± 0.13 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ดังนั้น คาดว่าสารสกัดหมากเม่า น่าจะมีแนวโน้มในการป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน และเป็นสมุนไพรไทยในพื้นถิ่นที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดวิจัยเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันและรักษาโรคเบาหวานในอนาคต

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ