พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุตาม วิถีใหม่: กรณีศึกษาชุมชนวัดหลวงพรหมวาส อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุตามวิถีใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุชุมชนวัดหลวงพรหมวาส อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางปัจจัย การสร้างเสริมสุขภาพประกอบด้วย 3 ปัจจัย ปัจจัยนำพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้และการรับรู้ประโยชน์ในระดับดีร้อยละ 39.75ในระดับปานกลางร้อยละ 42.00 ตามลำดับ ปัจจัยเอื้อพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการเข้าถึงแหล่งบริการการสร้างเสริมสุขภาพในระดับปานกลางร้อยละ 45.75 และปัจจัยเสริมพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในระดับน้อยร้อยละ 39.50 และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในระดับมากร้อยละ 38.25 ซึ่งปัจจัยทั้งสามมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าความสัมพันธ์กับปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้อยู่ในระดับต่ำ r =0.317และการรับรู้ประโยชน์r =0.378 ตามลำดับ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งบริการอยู่ในระดับปานกลาง r =0.402 และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับข่าวสาร และการได้รับแรงสนับสนุนอยู่ในระดับต่ำ r = 0.277 และในระดับปานกลาง r = 0.527 ตามลำดับ โดยผลงานวิจัยใช้เป็นข้อมูลกำหนดโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ