ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของผู้สูบบุหรี่ในการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัว

ผู้แต่ง

  • วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ
  • นํ้าฝน ไวทยวงศ์กร
  • วิรุฬจิตรา อุ่นจางวาง

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, การสัมผัสควันบุหรี่มือสอง, knowledge, attitude, secondhand smoke,

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้สูบบุหรี่ การป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองในครอบครัวและชุมชน และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของผู้สูบบุหรี่ในการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัว ชุมชนหนองตะครอง จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลในผู้สูบบุหรี่จำนวน 90 คน โดยใช้แบบวัดความรู้และทัศนคติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 45.6 มีอายุอยู่ในช่วง 41 ถึง 60 ปี ร้อยละ 35.6 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 61.1 มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 72.2 ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่คือบิดาร้อยละ 52.7 สูบบุหรี่วันละ 16-20 มวนร้อยละ 41.1 มีการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองในครอบครัวและชุมชนโดยส่วนใหญ่สูบบุหรี่นอกบ้านร้อยละ 71.1 แต่ขณะสูบมีสมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วยร้อยละ 28.9 และสูบบุหรี่ในที่สาธารณะถึงร้อยละ 11.1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 96.7 มีความรู้อยู่ในระดับดี (M = 10.89, SD = 1.22) ร้อยละ 82.2 มีทัศนคติอยู่ในระดับดี (M = 46.14, SD = 3.36) และพบว่าความรู้และทัศนคติของผู้สูบบุหรี่ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.101, p>.05) แม้ผู้สูบบุหรี่มีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัว แต่พบว่าสมาชิกในครอบครัวและชุมชนยังมีการสัมผัสควันบุหรี่มือสอง ดังนั้นบุคลากรทางสาธารณสุข ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงควรหาแนวทางส่งเสริมให้ผู้สูบบุหรี่ลดหรือเลิกการสูบบุหรี่เพื่อลดการสัมผัสควันบุหรี่มือสองต่อไป

Downloads