การประยุกต์ใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(Transtheoretical Model) เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย
คำสำคัญ:
โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, การออกกำลังกาย, Transtheoretical model, exerciseบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Transtheoretical Model: TTM) พัฒนาโดย โปรแชสก้า และไดคลีเมนเต้ (Prochaska & DiClemente, 1983) เพื่อช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดสุราและบุหรี่ ต่อมาได้ขยายขอบเขตมาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอื่นๆ (Burkholder & Evers, 2002; Prochaska &Marcus, 1994; Weinstein , Rothman,& Sutton, 1998) แนวคิดหลัก (core constructs) ของ TTM ประกอบด้วย1) ขั้นความพร้อมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Stages of change) แบ่งเป็น 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นก่อนคิด(Precontemplation) ขั้นเริ่มคิดพิจารณา (Contemplation) ขั้นเตรียมหรือเริ่มปฏิบัติ (Preparation) ขั้นปฏิบัติ(Action) และขั้นปฏิบัติสมํ่าเสมอ (Maintenance) 2) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (Self–Effi cacy) 3) ความสมดุลในการตัดสินใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Decisional balance) และ 4) กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม(Processes of change) ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่ละขั้นความพร้อม จะใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งหมด 10 กระบวนการ ในบทความฉบับนี้ได้อธิบายแนวคิดโมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และตัวอย่างการประยุกต์ใช้แนวคิด TTM เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายซึ่งจะช่วยลดระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว