ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
คำสำคัญ:
การให้ข้อมูล, ดนตรี, ความวิตกกังวล, การสวนหลอดเลือดหัวใจบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียก (STEMI) ที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจแบบฉุกเฉินครั้งแรก ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา คัดเลือกแบบเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีเป็นเวลา 2 วันหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจ ณ หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล,แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ(STAI form Y-1) ของ Spielberger (1983), แบบวัดความรู้โรคหัวใจและหลอดเลือดของสำนักการพยาบาล (2549) และแบบประเมินความพึงพอใจในการฟังดนตรี ค่าความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ (STAI form Y-1) และแบบวัดความรู้โรคหัวใจและหลอดเลือด เท่ากับ .75 และ .93 ส่วนค่าความเที่ยง เท่ากับ .82 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ dependent และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ความพึงพอใจในการฟังดนตรีพบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีทั้งหมด ร้อยละ 100 พึงพอใจต่อการฟังดนตรีในครั้งนี้ และ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 19.18
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว