การใช้สื่อออนไลน์ และการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศสุขภาพออนไลน์ของผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
สื่อออนไลน์, สื่อสารสนเทศสุขภาพออนไลน์, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ และการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศสุขภาพออนไลน์ของผู้สูงอายุ ใช้แบบสอบถามเรื่อง การประเมินสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์/สื่อสังคมออนไลน์ และการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศสุขภาพออนไลน์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 399 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์ จำนวน 320 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.72 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นหญิง (ร้อยละ 60) มีอายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี (ร้อยละ 72.81) จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 65.90) และอาศัยอยู่ในครอบครัวบุตรหลาน (ร้อยละ 95) มีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ และการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศสุขภาพออนไลน์ คือส่วนใหญ่เล่นไลน์ทุกวัน และเฟซบุ๊ก น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 50.30) โดยเล่นผ่านโทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟนส่วนตัว (ร้อยละ 62.81) ทั้งนี้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการสืบค้นข้อมูลสุขภาพจากสื่อออนไลน์/สื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาการใช้ยารักษาโรคนาน ๆ ครั้ง (ร้อยละ 26.60) ควรมีการหากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจูงใจให้ผู้สูงอายุมีการใช้สื่อออนไลน์ในการสืบค้นข้อมูลสุขภาพมากขึ้นและควรมีการเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุในการรู้เท่าทันสื่อ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว