ปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง (2-hr Postprandial Glucose) สูงผิดปกติในสตรีที่เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • เกศกัญญา ไชยวงศา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นงคราญ ไชยรบ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จ.สกลนคร

คำสำคัญ:

เบาหวานในขณะตั้งครรภ์, ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง, ปัจจัยทำนาย

บทคัดย่อ

เบาหวานในขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus [GDM]) ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกในครรภ์ ถ้าทราบปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะช่วยให้วางแผนการดูแลได้ดีขึ้น การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงสูงผิดปกติในสตรีตั้งครรภ์ ผู้เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 109 ราย  ได้รับคัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ คือ เป็นสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น GDM มีอายุอยู่ระหว่าง 17-43 ปี ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคอีสานตอนบน เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 – เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า  สตรีที่เป็น  GDM ส่วนใหญ่มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงสูงกว่าค่าปกติ (M = 157.19, SD = 46.34) และพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับชนิดของ GDM (r = .505, p < 0.01) และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (r = -.213, p < 0.05) ทั้งสองปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงสูงผิดปกติได้ร้อยละ 31.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F (2,106) = 23.847, R2 = 0.310, p < 0.01) ข้อมูลจากผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตามชนิดของ GDM โดยเน้นการออกกำลังกายเพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

References

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, และอรพินท์ สีขาว. (2557). การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์: Management for gestational diabetes mellitus. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 50-59.

กฤษณี สุวรรณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, และสุพิศศิริ อรุณรัตน์. (2562). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการ จัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการภาวะเบาหวานด้วยตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของ หญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 30(2), 1-13.

นงคราญ ไชยรบ, และเกศกัญญา ไชยวงศา. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายต่อระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงที่เป็นเบาหวานในระยะตั้งครรภ์. วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(1), 330-337.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.

ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, จงลักษณ์ ทวีแก้ว, และกรศศิร์ ชิดดี. (2563). แนวทางการให้ความรู้ก่อนการถือศีลอดแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(3), 361-375.

ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อภิธาน พวงศรีเจริญ, และอรวรรณ พินิจเลิศสกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(2). 58-69.

ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, นิตยา สินสุกใส, เอมพร รตินธร, และดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ การออกกำลังกายและระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(Supp l2), 48-58.

รอยพิมพ์ เลิศวิริยานันท์. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัด เชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 9(3), 216-239.

วิทยา ถิฐาพันธ์. (2561). ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์: ความสำคัญ การตรวจคัดกรอง และการวินิจฉัย. ใน วิทยา ถิฐาพันธ์ (บรรณาธิการ), ภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ & โภชนาการในช่วงแรกของชีวิต: ปัญหาและความท้าทาย (พิมพ์ครั้งที่ 2) (น.10.). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, มลิวัลย์ บุตรดำ, ทัศณีย์ หนูนารถ, และเบญจวรรณ ละหุการ. (2562). ภาวะ เบาหวานขณะตั้งครรภ์: บทบาทพยาบาลกับการดูแล. ราชาวดีสาร วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 9(2). 100-113.

แสงดาว แจ้งสว่าง, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, และตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. (2563). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(3), 79-89.

Cypryk, K., Szymczak, W., Czupryniak, L., Sobczak, M., & Lewinski, A. (2008). Gestational diabetes mellitus-an analysis of risk factors. Endokrynologia Polska, 59(5), 393-397.

Rocha, A. D. S., Bernardi, J. R., Matos, S., Kretzer, D. C., Schöffel, A. C., Goldani, M. Z., & de Azevedo Magalhães, J. A. (2020). Maternal visceral adipose tissue during the first half of pregnancy predicts gestational diabetes at the time of delivery–a cohort study. PloS One, 15(4), e0232155.

Zheng, T., Ye, W., Wang, X., Li, X., Zhang, J., Little, J., & Zhang, L. (2019). A simple model to predict risk of gestational diabetes mellitus from 8 to 20 weeks of gestation in Chinese women. BMC Pregnancy and Childbirth, 19(1), 1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30