ผลของการให้ข้อมูลต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็ง
คำสำคัญ:
โปรแกรมการให้ข้อมูล, ความวิตกกังวล, เด็กวัยเรียนโรคมะเร็งบทคัดย่อ
เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกว่าเป็นมะเร็งจะเกิดความวิตกกังวลซึ่งหากไม่ได้รับการบรรเทาจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลต่อความวิตกกังวลของเด็กวัยเรียนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งระหว่างกลุ่มที่ได้รับข้อมูลกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ด้วยการตรวจทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็งครั้งแรก และรับการรักษาที่หอผู้ป่วยเด็ก ของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลอง (กลุ่มละ 12 ราย) ทั้งสองกลุ่มได้รับการพยาบาลปกติ โดยที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเพิ่มเติม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความวิตกกังวลของเด็กไทยวัยเรียน (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งกลุ่มทดลอง (M = 24.16, SD = 4.38) ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M = 37.08, SD = 5.36 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(22) = 6.45, p < 0.05, d = 2.64) สรุปได้ว่าการให้ข้อมูลสามารถลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกได้ จึงควรประยุกต์โปรแกรมให้ข้อมูลไปใช้ในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งในทุกระยะของการรักษาต่อไป
References
ชลมาศ คูหารัตนากร. (2557). ผลของการให้ข้อมูลผ่านการ์ตูนแอนิเมชั่นต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือของเด็กชายวัยเรียนที่เข้ารับการขยายท่อปัสสาวะ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ณัฐนันท์ เกตุภาค, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, และอารีวรรณ กลั่นกลิ่น. (2554). ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ป่วย ในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร, 38(3), 98-109.
นาตยา พึ่งสว่าง. (2545). ผลของการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดโดยการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่าน การ์ตูนตัวแบบต่อระดับความวิตกกังวลและการให้ความร่วมมือในการเตรียมผ่าตัดของผู้ป่วยเด็กวัยเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เนาวรัตน์ ซื่อดี, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, อรวมน ศรียุกตศุทธ, และนพดล ศิริธนารัตนกุล. (2558). ประสบการณ์การมีอาการและอิทธิพลของอาการต่อภาวะการทําหน้าที่ในผู้ป่วยมะเร็งระบบโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบําบัด. วารสารพยาบาลศาสตร์, 33(2), 29-40.
ปริศนา วานิช, วันธณี วิรุฬห์พานิช, และพิสมัย วัฒนสิทธิ์. (2562). อิทธิพลของความเครียด ความปวด และกิจกรรมการพยาบาลต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบําาบัด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(1), 28-40.
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2562). สรุปข้อมูลสถิติผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง ปีงบประมาณ พ.ศ.2559-2561. นครราชสีมา: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.
วรวุฒิ แสงทอง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, และ รุจิรัตน์ มณีศรี. (2563). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในระยะเริ่มต้นการรักษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(1), 158-168.
วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์. (2553). ทฤษฎีการควบคุมตนเอง: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการพยาบาลเด็กและครอบครัว. วารสารสภาการพยาบาล, 25(4), 23-33.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2563). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สินาฏ คุณอารี, ประดับ ภักดีพิน, และวัชรีย์ แสงมณี. (2558). ผลของการให้ข้อมูลโดยผ่านหนังสือนิทานประกอบภาพการ์ตูนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ได้รับการสวนหัวใจ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 129-142.
สุธิศา ล่ามช้าง, ฐิติมา สุขเลิศตระกูล, อรพินท์ จันทร์ปัญญาสกุล, และปรีชา ล่ามช้าง. (2561). การรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้ดูแลเด็กป่วยเฉียบพลันและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร, 45(1), 75-86.
Altay, N., Kilicarslan-Toruner, E., & Sari, Ç. (2017). The effect of drawing and writing technique on the anxiety level of children undergoing cancer treatment. European Journal of Oncology Nursing: the Official Journal of European Oncology Nursing Society, 28, 1–6.
Bergerot, C. D., Clark, K. L., Nonino, A., Waliany, S., Buso, M. M., & Loscalzo, M. (2015). Course of distress, anxiety, and depression in hematological cancer patients: Association between gender and grade of neoplasm. Palliative & Supportive Care, 13(2), 115–123.
Bron, D., Aurer, I., Andre, M. P. E., Bonnet, C., Caballero, D., Falandry, C., . . . Hematology. (2017). Unmet needs in the scientific approach to older patients with lymphoma. Haematologica, 102(6), 972-975.
Chaiyawat, W., & Brown, J. K. (2000). Psychometric properties of the Thai versions of State-Trait Anxiety Inventory for Children and Child Medical Fear Scale. Research in Nursing & Health, 23(5), 406–414.
Hauken, M. A., Senneseth, M., Dyregrov, A., & Dyregrov, K. (2018). Anxiety and the quality of life of children living with parental cancer. Cancer Nursing, 41(1), E19-E27.
Howlader, N., Noone, A. M., Krapcho, M., Miller, D., Brest, A., Yu, M., . . . Cronin, K. A. (2016). SEER cancer statistics review, 1975-2018. Bethesda, MD: National Cancer Institute.
Imsamran, W., Chaiwarawattana, A., Wiangnon, S., Pongnikorn, D., Suwanrungrung, K., Sangrajrang, S., & Buasom, R. (2015). Cancer in Thailand (Vol. VIII, 2010-2012). Bangkok: New Thammada Press (Thailand) Co., Ltd.
Johnson, J. E. (1999). Self-regulation theory and coping with physical illness. Research in Nursing & Health, 22(6), 435-48.
Rodgers, C. C., Laing, C. M., Herring, R. A., Tena, N., Leonardelli, A., Hockenberry, M., & Hendricks-Ferguson, V. (2016). Understanding effective delivery of patient and family education in pediatric oncology: A systematic review from the children’s oncology group. Journal of Pediatric Oncology Nursing, 33(6), 432–446.
Rosenberg, A. R., Orellana, L., Ullrich, C., Kang, T., Geyer, J. R., Feudtner, C., . . . Wolfe, J. (2016). Quality of life in children with advanced cancer: A report from the PediQUEST study. Journal of Pain and Symptom Management, 52(2), 243-253.
Spielberger, C., Edwards, C., Lushene, R., Montuori, J., & Platzek, D. (1973). STAIC manual. Palo Alto, CA: Consulting Psychologist Press.
Word Health Organization (WHO). (2016). Disease burden and mortality estimate, cause-specific mortality. Retrieved from https://www.who.int/healthinfo/global_burden_disease/estimates/en/
Yardeni, M., Abebe Campino, G., Bursztyn, S., Shamir, A., Mekori-Domachevsky, E., Toren, A., & Gothelf, D. (2020). A three-tier process for screening depression and anxiety among children and adolescents with cancer. Psycho-oncology, 29(12), 2019–2027.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว